โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับอาจารย์
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Inquiry Method
----------------------------------------------
หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method) เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบ ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วย วิธีการ ทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ อาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่จัดบรรยากาศและสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ลงมือปฏิบัติการสำรวจ เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง เป็นการสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้เอง รวมถึงใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดที่สามารถทดสอบได้ และหาข้อสรุปได้อย่างมีเหตุผล
ฝ่ายวิชาการ โดย ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่มุ่งให้คณะวิชามีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงได้จัดให้มีโครงการฝึกอบรมนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ผู้สอนให้สามารถนำเทคนิควิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองได้อย่างมีสัมฤทธิผล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ผู้สอน เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี เนื้อหา สถานการณ์ที่เหมาะสมในการนำไปใช้ องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการวัดและประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
2. เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเอง
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนรวม 50 คน ประกอบด้วย
- อาจารย์ใหม่จากคณะวิชาต่างๆ ที่มีอายุงาน < 3 ปี
- อาจารย์จากคณะวิชาต่างๆ ที่มีความสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
วันเวลาและสถานที่
วันพฤหัสบดี ที่ 17 ตุลาคม 2556 เวลา 9.00 -12.00 น. ณ ห้อง 1-705 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์
วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร. นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์
หน่วยงาน : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รูปแบบการดำเนินงาน
การบรรยายผสมผสานกับกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ
วิธีประเมินโครงการและค่าเป้าหมาย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. อาจารย์ผู้สอนได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี เนื้อหา สถานการณ์ที่เหมาะสมในการนำไปใช้ องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการวัดและประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
2. อาจารย์ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเอง
3 อาจารย์ผู้สอนและคณะวิชาสามารถนำไปใช้ในการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาและประเมินหลักสูตรตาม TQF
-------------------------------------------------------------
กำหนดการ
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับอาจารย์
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Inquiry Method
*****************************************
วันพฤหัสบดี ที่ 17 ตุลาคม 2556 เวลา 9.00 -12.00 น. ณ ห้อง 1-705 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์
----------------------------------------------
08.30 - 09.00 น. - ลงทะเบียน
09.00 - 11.00 น. - การบรรยายในหัวข้อ
> แนวคิดทฤษฎีของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
> เนื้อหา/สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้จัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
> องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
> ขั้นตอนของการจัดการการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิธีการวัดและประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
11.00 - 12.00 น. - ตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และการฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
****************************************************
วันที่ประกาศ: 16 กันยายน 2556, 08:59