ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

การเขียนข้อเสนอโครงการ: ปัญหาวิจัยเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์

 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์

เรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการ: ปัญหาวิจัย เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์

หลักการและเหตุผล

การวิจัยเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนั้น ผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตควรเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยรวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ทั้งในด้านปริมาณ คือ ต้องทำให้สัดส่วนของผลงานวิจัยมีความสมดุลกับจำนวนอาจารย์ในคณะวิชา และในด้านคุณภาพ ได้แก่ การส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร คณะวิชา และหน่วยงานสนับสนุน ต้องมาผนึกกำลังร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยดังกล่าวกลายเป็นนวัตกรรมหรือข้อมูลสะท้อนกลับอันเป็นประโยชน์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาอาจารย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมีมาตรฐานรวมทั้งส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำวิชาการด้านงานวิจัยเพื่อการศึกษา และบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา

            หัวใจสำคัญในกระบวนการศึกษาวิจัยนั้น ผู้วิจัยต้องเริ่มต้นจากการเขียน โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างผู้วิจัย และผู้ให้ทุน เพื่อแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัย แต่ในบางครั้งผู้วิจัยอาจมีปัญหาในการเลือกปัญหาวิจัย อาจจะยังคิดหัวข้องานวิจัยที่ตนเองต้องการจะทำไม่ออก ซึ่งผู้วิจัยอาจต้องไปศึกษาจากงานวิจัยที่ตนเองสนใจ หรืองานเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถหาหัวข้อวิจัยได้ และจะไม่ทำให้เกิดการทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น นอกจากนี้ D.B. Van Dalen (1962) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกปัญหาวิจัยไว้ ดังนี้

1. เป็นปัญหาที่ตนเองหวังไว้ และตรงกับความหวังของคนทั่วไปหรือไม่

2. ตนเองสนใจปัญหานั้นอย่างแท้จริงหรือไม่

3. ตนเองมีทักษะ มีความรู้ความสามารถ และพื้นความรู้เดิมพอเพียงจะศึกษาวิจัยเรื่องนั้น ได้หรือไม่

4. ตนเองมีเครื่องมือ แบบทดสอบ ห้องทดลอง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะใช้ดำเนินการวิจัยเรื่องนั้นๆ หรือไม่ ถ้าไม่มีตนเองมีความรู้ที่จะสร้างเองได้หรือไม่

5. ตนเองมีเวลาและเงินที่จะทำได้สำเร็จหรือไม่

6. ตนเองจะไปรวบรวมข้อมูลได้หรือไม่ มีข้อมูลให้รวบรวมแค่ไหน

7. ปัญหานั้นๆ ครอบคลุมและมีความสำคัญถูกต้องตามระเบียบของสถาบันที่ท่านกำลังเรียน หรือทำงานหรือไม่

8. ปัญหานั้นๆ ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหรือไม่

เพื่อเป็นการพัฒนาความสามารถทางด้านการวิจัย ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการ: ปัญหาวิจัย เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะทางด้านการวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ให้แก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิตต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกหัวข้อและวิธีการเขียนโครงร่างงานวิจัย

2. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อให้การทำงานวิจัยของตนเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักกระบวนการวิจัย

3. เพื่อให้อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์อันเป็นประโยชน์จากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

กลุ่มเป้าหมาย

            อาจารย์จากวิทยาลัย/ คณะ/ สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 50 คน

วิทยากร

            ดร. อิทธิพัทธ์  สุวทันพรกูล  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

วัน เวลา สถานที่

            วันพฤหัสบดีที่  16 มกราคม  2557 เวลา 8.30-12.00 น. ณ ห้อง 1-302 ชั้น 3 อาคาร 1 (อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์) มหาวิทยาลัยรังสิต

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1. อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลือกหัวข้องานวิจัย ตลอดจนแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

            2. อาจารย์ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เพื่อให้การทำงานวิจัยของตนเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักกระบวนการวิจัย

            3. อาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์อันเป็นประโยชน์จากท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน


--------------------------------------------------------------------------------------

 

กำหนดการโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์

เรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการ: หัวข้อวิจัย เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม  2557  เวลา  8.30 -12.00 น.

ณ ห้อง 1-302 ชั้น 3 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต

*****************************************

08.30 – 09.00 น.          - ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.          - หลักวิธีการเลือกหัวข้อวิจัย และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

10.30 – 10.45 น.          - รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.          - ตัวอย่างการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

 

---------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ  รายละเอียดของเนื้อหาและระยะเวลา อาจมีการปรับเปลี่ยนตามดุลยพินิจของวิทยากร

                   ผู้ประสานงาน นางสาวเกษสุดา  ไชยวงศ์   โทรศัพท์ 02-9972222-30 ต่อ 5701 โทรสาร 02-7915701


วันที่ประกาศ: 16 มกราคม 2557, 13:18

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2014 เวลา 08:30 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
1) พัชรี คำธิตา
2) กนกพร อนันต์ชื่นสุข
3) รักชาติ แสงวงศ์
4) วรรณวิมล อารยะปราณี
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
5) กชมน อินทร์บัว
6) จิราลักษณ์ แก่นแท่น
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
7) ณัฐพงษ์ หริรักษาพิทักษ์
คณะศิลปศาสตร์
8) วิศรุต เลาะวิถี
9) ศิริมน ศรีนพรัตน์
10) มนชัย มัดยูโก๊ป
11) จตุพร อินทร์สุวรรณ
12) ณัฏฐพล คุปต์ธนโรจน์
13) อำนาจ มะหะหมัด
14) วรพล มหาแก้ว
วิทยาการการออกแบบ
15) สิรดา ศรีแก้ว
16) เขต ศิริภักดี
17) อนัญญาลัลน์ วัฒนะนุพงษ์
18) อำพรรณี สะเตาะ
19) บำรุง อิศรกุล
20) อนันต์กิตติ์ จันทร์ไกร
21) กิตติวัฒน์ โลหะการ
22) ชินภัศร์ กันตะบุตร
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
23) ดลฤทัย บุญประสิทธิ์
24) สันติ กิจลือเกียรติ
สถาบันการบิน
25) พินิจ ชาติไทย
สำนักงานกิจการนักศึกษา
26) มยุรา อาญาสิทธิ์
27) ณิชาภัทร ฉายศรี
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
28) สิริพร แก้วสกุล
29) สมบุญ นาคพรม
30) เบญจพร เกาะแก้ว
31) เกษสุดา ไชยวงศ์
32) ลิขิต นีรนาทภูรี
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
33) สุทธิศักดิ์ จันทวงษ์โส
34) สมบูรณ์ เอนกฤทธิ์มงคล
35) ธัญวรัตน์ แดงลิ่ม
36) สุมนา เกษมสวัสดิ์
37) ศิริวรรณ วาสุกรี
คณะนิติศาสตร์
38) ศิรภา จำปาทอง
คณะบัญชี
39) วิราพร กลั่นคำ
40) เกศรา สุพยนต์
41) วัฒนี รัมมะพ้อ
คณะบริหารธุรกิจ
42) อารีรัตน์ แย้มเกษร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
43) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
44) ธฤต อภิสิทธิวงศ์