ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

หลักการและเหตุผล

การวิจัยเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนั้น ผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตควรเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยรวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ทั้งในด้านปริมาณ คือ ต้องทำให้สัดส่วนของผลงานวิจัยมีความสมดุลกับจำนวนอาจารย์ในคณะวิชา และในด้านคุณภาพ ได้แก่ การส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร คณะวิชา และหน่วยงานสนับสนุน ต้องมาผนึกกำลังร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยดังกล่าวกลายเป็นนวัตกรรมหรือข้อมูลสะท้อนกลับอันเป็นประโยชน์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาอาจารย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมีมาตรฐานรวมทั้งส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำวิชาการด้านงานวิจัยเพื่อการศึกษา และบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (Teacher as Research) ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการวิจัย ทั้งนี้เพราะข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นปัจจัย พื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการดำเนินการวิจัย ถ้าข้อมูลที่ได้รับถูกต้อง เชื่อถือได้ และตรงประเด็น ก็จะส่งผลให้ผลการวิจัยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามสภาพข้อเท็จจริง แต่ในทางกลับกันถ้าข้อมูลที่ได้รับไม่ถูกต้อง เชื่อถือไม่ได้ และไม่ตรงกับประเด็นของเรื่อง ผลการวิจัยที่ปรากฏออกมาจะขาดความสมบูรณ์และไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยปกติก่อนที่ผู้วิจัยจะตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด ผู้วิจัยต้องทำการ วิเคราะห์ตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการศึกษา กับแหล่งที่ต้องการรวบรวมข้อมูลว่าเหมาะสมที่จะใช้เครื่องมือชนิดใด บางครั้งในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน ต้องการวัดตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการศึกษาเดียวกัน แต่มีแหล่งข้อมูลต่างกัน อาจใช้เครื่องมือต่างชนิดกันก็ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดให้มีโครงการฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้คณาจารย์สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ

๒. เพื่อให้คณาจารย์สามารถสร้างตลอดจนเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน ๕๐ คน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

เนื้อหาการฝึกอบรม

- ลักษณะและประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย

- เทคนิคการเลือกใช้เครื่องมือ และการสร้างเครื่องมือให้เหมาะสมกับการวิจัย

 

วิทยากร

ดร. สุวิมล  กฤชคฤหาสน์  ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

วัน เวลา และสถานที่

วันพุธ ที่ 23 เมษายน 2557 ห้อง 1-605  ชั้น 6 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1)

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ

๒. คณาจารย์สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในกระบวนการสร้างเครื่องมือ สร้างตลอดจนเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

           

 

 

 

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์

เรื่อง การเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

วันพุธ ที่ 23  เมษายน  2557  เวลา  8.30 – 12.00 น.

ณ ห้อง 1-605 ชั้น 6 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต

*****************************************

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.  การบรรยาย เรื่อง เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยประเภทต่างๆ

10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง เทคนิคการสร้างและออกแบบเครื่องมือสำหรับการการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย


วันที่ประกาศ: 1 เมษายน 2557, 16:05

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพุธที่ 23 เมษายน 2014 เวลา 08:30 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
0 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) สุธารทิพย์ เรืองประภาวุฒิ
2) เสมา สอนประสม
3) รณรงค์ พละศูนย์
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
4) พนิดา สามพรานไพบูลย์
5) รักชาติ แสงวงศ์
6) สถาพร คำหอม
7) สุดารัตน์ ใจเขียนดี
8) เพียงจันทร์ จริงจิตร
9) นวพร กุญชรอินทร์
10) สมหมาย บัวแย้มแสง
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
11) ภาวิณี เส็งสันต์
12) มณีกาญจน์ นภาแก้ว
13) อัญชนา แสนรุ่งเมือง
14) ธิติมา หลินหะตระกูล
15) นพพันธุ์ ประกิจบุญฤทธิ์
16) เพชรเจริญ วิภามณีโรจน์
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
17) นิธิภา อาจฤทธิ์
18) ชุลีกร นวลสมศรี
19) ณัฐวรรณ วาเรืองศรี
20) วราภรณ์ ประณิธานวิทยา
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
21) นพปฎล ธาระวานิช
22) ณัฏฐ์พงษ์ จันทชโลบล
23) อรัญญา พิสิษฐเกษม
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
24) สันติ กิจลือเกียรติ
คณะทัศนมาตรศาสตร์
25) พัชรินทร์ พลอยสิทธิ์
26) โทน แห้วเพ็ชร
27) วัฒนีย์ เย็นจิตร
คณะพยาบาลศาสตร์
28) จุฬา ยันตพร
29) ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ
วิทยาลัยนานาชาติจีน
30) Zeng Chengcheng
คณะบัญชี
31) เกศรา สุพยนต์
32) วิภาพร กลั่นคำ
สำนักงานกิจการนักศึกษา
33) ณิชาภัทร ฉายศรี
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
34) ชัชชญา พีระธรณิศร์
คณะบริหารธุรกิจ
35) อารีรัตน์ แย้มเกษร
36) ปิยะรัตน์ จันทรยุคล
บัณฑิตวิทยาลัย
37) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
38) จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์
39) นาตยา สมุทรถา
สถาบันการบิน
40) ศุภกฤต อริยะปรีชา