ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการสัมมนา เรื่อง อาจารย์ที่ปรึกษากับการแก้ปัญหา"วัยเรียน"

โครงการสัมมนา เรื่อง อาจารย์ที่ปรึกษากับการแก้ปัญหา”วัยเรียน”

---------------------------------------------------------------

หลักการและเหตุผล

ในสังคมอุดมศึกษาทุกวันนี้ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าหลายสถาบันกำลังเผชิญปัญหาคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษา ด้วยเหตุที่วัยรุ่นในช่วงอายุนี้เป็นคน Generation Y ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเจริญรุดหน้า ใช้โทรศัพท์ 4G และ สังคมออนไลน์ เช่น Facebook หรือ Line เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ทำให้สามารถแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารถึงกันกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง วัยรุ่นยุคนี้มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบการถูกควบคุม ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ไม่ชอบเงื่อนไข นิยมพฤติกรรมการเลียนแบบกันในสังคมและหมู่คณะ ประกอบกับการเลี้ยงดูบุตรของครอบครัวยุคใหม่ที่เปิดกว้างและค่อนข้างให้อิสระกับลูกมากกว่าสังคมในยุคก่อน ส่งผลให้นักศึกษาสามารถเลือกแนวทางดำเนินชีวิตทั้งในด้านการเรียนและการใช้ชีวิตส่วนตัวได้ด้วยตัวเองอย่างเสรี ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือนเป็นดาบสองคม เนื่องจากหากคนไหนเลือกทางเดินผิดพลาด ย่อมต้องประสบกับปัญหาชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีมากน้อยแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของปัญหา

ปัญหาของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยที่พบเห็นกันโดยทั่วไปในระดับที่ส่งผลกระทบรุนแรงน้อย ได้แก่ การไม่ตั้งใจเรียน การไม่ตรงต่อเวลา การแต่งกายผิดระเบียบ ไม่ใส่ชุดนักศึกษา ปัญหาในระดับที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่ การทุจริตในการสอบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาถูกปรับตกหรือไม่สำเร็จการศึกษา การแต่งกายชุดล่อแหลม  ยั่วยุทางเพศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาถูกคุกคามทางเพศ การเกาะติดปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ตามกระแสเทคโนโลยีทันสมัย ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต โน๊ตบุ๊ค และการมีรสนิยมหรูใช้สินค้าแบรนด์เนมหรือใช้บริการราคาแพง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ และนำไปสู่การต้องขวนขวายหารายได้เสริมจากอาชีพที่ไม่พึงประสงค์ จนเชื่อมโยงไปสู่การเกิดปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบในระดับรุนแรงมาก เช่น การขายบริการทางเพศ การพนัน การซื้อขายหรือเสพย์ยาเสพย์ติด และการเกิดอาชญากรรม นอกจากนั้น ยังพบว่านักศึกษาจำนวนมากมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์และการทำแท้ง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาก ทั้งต่อตัวนักศึกษาเอง ครอบครัวของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย สังคม และประเทศชาติ สาเหตุของปัญหาวัยเรียนทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ ทั้ง

ปัจจัยภายนอก เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัว การเข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน ความขัดแย้งภายในครอบครัวและอื่นๆ หรือจากปัจจัยภายใน เช่น ลักษณะนิสัย ค่านิยม ทัศนคติของตัวเด็กเอง

ในความเป็นครูอาจารย์ นอกจากจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สอนแล้ว ยังต้องรับบทบาทของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาควบคู่ไปด้วย ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของอาจารย์ นอกจากจะต้องพัฒนาสติปัญญาให้กับนักศึกษา โดยการสอนความรู้ ทักษะเชิงวิชาการ และบ่มเพาะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแล้ว อาจารย์ยังต้องทำหน้าที่แนะนำเกี่ยวกับวิธีการเรียนให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่นักศึกษากำลังประสบปัญหาหรือเผชิญกับภาวะวิกฤตของชีวิต ในการนี้ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนจึงได้มีการจัดโครงการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งต้องมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ ช่วยประคับประคอง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับนักศึกษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาสามารถผ่านพ้นปัญหานั้นๆ ไปได้อย่างดีที่สุด

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้อาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

2.  เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางในการให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับนักศึกษา

3.  เพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างอาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาและวิทยากร

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

 

วันเวลาและสถานที่

วันพุธที่ 6 สิงหาคม 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ห้อง 1-605 ชั้น 6 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์

 

วิทยากร

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฏฐพงศ์ ชูทัย

             หัวหน้าสาขาแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาการศึกษา

             คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

เนื้อหาการสัมมนา

การสัมมนาในครั้งนี้ มุ่งเน้นการให้ความรู้แก่อาจารย์ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ต้องให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในการชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่พบได้อยู่เสมอ ได้แก่ การเรียนตกต่ำ มีปัญหาความรัก มีปัญหาครอบครัว การถูกคุกคามทางเพศ การติดยาเสพย์ติด การติดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพนัน และปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างยังศึกษา เป็นต้น

 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์ใหม่ของคณะวิชาที่มีอายุงาน 0-3 ปี และอาจารย์ผู้สนใจ จำนวนรวม 50 คน

 

การประเมินผลโครงการ

- เชิงปริมาณ >   จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย

- เชิงคุณภาพ >    คะแนนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อวิทยากร ประโยชน์ที่ได้รับ  และการดำเนินการจัดงาน มีค่าไม่น้อยกว่า 4.00

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาจารย์เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของภาระหน้าที่และบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา

2.อาจารย์ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ หลักการ กระบวนการขั้นตอน และเทคนิคในการให้คำปรึกษา

3.อาจารย์ได้รับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมอันเป็นปัญหาที่พบได้อยู่เสมอของนักศึกษาในยุคปัจจุบัน รวมถึง แนวทางการให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น

4.อาจารย์มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ และความคิดเห็น กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา

 

----------------------------------------------------------------

 

กำหนดการ

โครงการสัมมนา เรื่อง อาจารย์ที่ปรึกษากับการแก้ปัญหา”วัยเรียน”

 

วันพุธที่ 6 สิงหาคม 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ห้อง 1-605 ชั้น 6 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์

----------------------------------------------------

08.30-09.00 น.         ลงทะเบียน

09.00-11.45 น.         การบรรยายในหัวข้อ

  • ภาระหน้าที่และบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
  • หลักการ กระบวนการขั้นตอน และเทคนิคในการให้คำปรึกษา
  • แนวทางการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆโดยเฉพาะปัญหาที่พบได้อยู่เสมอ ได้แก่ การเรียนตกต่ำ มีปัญหาความรัก มีปัญหาครอบครัว การถูกคุกคามทางเพศ การติดยาเสพย์ติด การมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพนัน และปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างยังศึกษา เป็นต้น

11.45-12.00 น.          ถาม-ตอบ ข้อสงสัย

12.00 น.                   ปิดการฝึกอบรม


วันที่ประกาศ: 21 กรกฏาคม 2557, 09:48

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันพุธที่ 6 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
180 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
1) พนิดา สามพรานไพบูลย์
2) นวพร กุญชรอินทร์
3) วรุตม์ เอมอุดม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์
4) สุกิจ พันธุ์พิมานมาศ
5) กรรณิกา กันภิชัย
6) อังคณา สังข์วิเวก
7) ลภัสรดา แสงอรุณ
วิทยาการการออกแบบ
8) อนุพงศ์ สุทธะลักษณ์
9) นิจาภา เหมะภูมิ แฮมมิวตัน
10) บัณฑิต เนียมทรัพย์
คณะทัศนมาตรศาสตร์
11) เมธี จรัสอรุณฉาย
12) พัชรินทร์ พลอยสิทธิ์
13) โทน แห้วเพ็ชร
14) ประเสริฐ ผดุงเกียรติสกุล
15) จิราภรณ์ พิกุลทอง
16) เอกชัย โกไคศสวรรค์
17) ภัชภิชา ยกกำพล
คณะวิทยาศาสตร์
18) วรัญญา ชมภูพล
19) อนุชา วิมูนชาติ
20) ดรุณี รอดมา
21) บำเพ็ญพร สนั่นนาม
22) สุทธิพร นามนาค
23) ศุภฤทธิ์ ภักดีไทย
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
24) ธัญวรัตน์ แดงลิ่ม
วิทยาลัยนานาชาติจีน
25) Zeng Chengcheng
คณะดิจิทัลอาร์ต
26) วรรณพร ชูจิตารมย์
27) สุทธิชาติ ศราภัยวานิช
สถาบันการบิน
28) กฤษฎ์ มีมุข
29) ปราณี ศรีอิ่ม
30) ศศิมา สุจิตราภรณ์
คณะบัญชี
31) พิมพ์ใจ วีรศุทธากร
32) วัฒนี รัมมะพ้อ
สำนักงานปกครอง
33) อัตถกร ธรรมศิริ
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
34) สุทธิพร สุริยาวุฒิธรรม
35) อโนมา ทองสืบสาย
คณะพยาบาลศาสตร์
36) นุชธิดา เจริญชัยยง
37) ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง
38) สุวรีย์ เพชรแต่ง
39) เตือนใจ วงษ์รักษา
คณะเทคโนโลยีอาหาร
40) วนิดา โอศิริพันธุ์
41) กิ่งกมล ลีลาจารุวรรณ
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
42) สมบุญ นาคพรม
43) เบญจพร เกาะแก้ว
44) เกษสุดา ไชยวงศ์
45) ลิขิต นีรนาทภูรี
46) ปรัชญ์ นันทาสิกร
คณะบริหารธุรกิจ
47) อารีรัตน์ แย้มเกษร
สถาบันภาษาอังกฤษ
48) วีรภา พงษ์พานิช
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
49) วีระศักดิ์ พิทักษ์ศฤงคาร
50) มนัญญา ปัญญาธีระ