ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

“เทคโนโลยีอัจฉริยะ” นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

หลักการและเหตุผล

นโยบายการจัดการศึกษาแห่งชาติได้มีการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาโดยให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ทั้งนี้ การจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมต้องให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและสื่อการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้น ลักษณะของการจัดการศึกษาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บอกความรู้ไปเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้ โดยการกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน และจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ ศึกษาค้นคว้า และได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-Life Education) โดยต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn) มากกว่าการสอนให้ท่องจำ ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนภายใต้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ผู้สอนต้องมีความสามารถในการแสวงหา เลือกใช้ หรือพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียน

ในปัจจุบันเรามีแนวโน้มจะต้องปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีมากขึ้นในทุกๆ กิจกรรมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในโลกแห่งการทำงานหรือในชีวิตส่วนตัว เทคโนโลยีที่รายล้อมรอบตัวเหล่านี้ล้วนบีบบังคับให้เราเชื่อมโยงกับคนทั้งโลกผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายขนาดมหึมาที่ประกอบไปด้วยคลังข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาล รัฐบาลทั่วโลกจึงกำลังผลักดันให้ประชากรเข้าถึงอินเตอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด แม้แต่ตลาดงานก็มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางเทคโนโลยีมากถึง 51% และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงถึง 77-80% ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า การเตรียมความพร้อมสำหรับโลกอนาคตจึงต้องส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อปูทางให้สามารถพัฒนาทักษะในด้านนี้จากการเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นที่มาของโครงการต่างๆ ซึ่งผลักดันเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยลดปัญหาทางการเรียนการสอน เพราะการถ่ายทอดแบบ Face to Face นั้นเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการปฏิสัมพันธ์ทางความรู้อย่างรวดเร็วที่เกิดจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถ up date ความรู้ทุกอย่างเพื่อไปถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้ตลอดเวลา วิธีการเดียวคือต้องหยิบยื่นเครื่องมือให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้ด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและบริหารจัดการอย่างรัดกุม

เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology) ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ยุคใหม่ที่ชาญฉลาดเป็นเครื่องมือการจัดการเรียนการสอนที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารสังคมออนไลน์ เป็นทางเลือกให้ผู้สอนนำมาใช้สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในหลักสูตรห้องเรียนปกติและการเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยสร้างสีสันดึงดูดใจ เปิดโลกการเรียนรู้ที่กว้างไกลสำหรับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลโดยตรงให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ เพราะสิ่งที่เห็นอยู่นั้นเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ และมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นตัวแทนของการเรียนรู้ที่ทันสมัยภายใต้สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนที่ปรับประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ รูปแบบของเทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบันมีความหลากหลาย อาจารย์ผู้สอนยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ และต้องสามารถสร้าง Digital Contents ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งแน่นอนว่าแรงงานไทยกำลังถูกท้าทายจากสถานการณ์การแข่งขันรอบด้าน การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ จึงเป็นอีกช่องทางในการติดอาวุธให้กับบัณฑิตไทยเพื่อให้มีความพร้อมในการต่อสู้บนเวทีโลกได้ดียิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยรังสิต โดยศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ คณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ด้านนวัตกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อาจารย์ผู้สอนในการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับรายวิชาของตนเองต่อไป

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้อาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่
  2. เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา
  3. เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์เกี่ยวกับการใช้ Smart Technology เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านโลกดิจิตอล
  4. เพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างอาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาและวิทยากร
  5. เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับรายวิชาของตนเอง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน

ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

คณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ด้านนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

 

วันเวลาและสถานที่

วันจันทร์ที่ 22 ธาวาคม 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ห้อง 7-100 ชั้น 1 อาคารสำนักหอสมุด

 

วิทยากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทร์ชัย หญิงประยูร  : รองผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารและอาจารย์ของคณะวิชาต่างๆ จำนวน 100 คน

 

การประเมินผลโครงการ

  • เชิงปริมาณ >   จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย
  • เชิงคุณภาพ >     คะแนนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อวิทยากร ประโยชน์ที่ได้รับ  และการดำเนินการจัดงาน มีค่าไม่น้อยกว่า 4.00

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่
  2. ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา
  3. ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ Smart Technology เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านโลกดิจิตอล
  4. เกิดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างอาจารย์ผู้เข้าร่วมสัมมนาและวิทยากร
  5. ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เป็นอาจารย์ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับรายวิชาของตนเอง

 

กำหนดการ

โครงการสัมมนา

เรื่อง “เทคโนโลยีอัจฉริยะ” นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2557 เวลา 9.00-12.00 น.

ห้อง 1-702 ชั้น 7 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

----------------------------------------------------

08.30-09.00 น.        ลงทะเบียน

09.00-10.00 น.       การบรรยายในหัวข้อ - อิทธิพลของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนยุคใหม่

10.00-10.15 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-12.00 น.       การบรรยายในหัวข้อ - การประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษา


วันที่ประกาศ: 17 เมษายน 2558, 09:48

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
80 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะวิทยาศาสตร์
1) กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
2) เสมา สอนประสม
3) ปรียา อนุพงษ์องอาจ
4) จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์
5) อารยา มุ่งชำนาญกิจ
6) สุพัฒน์ มูลสิน
7) อรจิรา อารักษ์สกุลวงศ์
8) ธนากร อยู่โต
9) ลดาวัลย์ วศินปิยะมงคล
10) ธเนศ พงศ์ธีรรัตน์
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
11) สายสวาท ทองสุพรรณ
12) ปรารถนา ยอดมโนธรรม
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
13) ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด
คณะบริหารธุรกิจ
14) อภิราม ทัฬหวิรุฬห์วงศ์
15) อภิรัฐ ศิริวงษ์
16) ธนวดี วงษ์คำช้าง
17) ลัดาวรรณ์ มัณยานนท์
18) อารีรัตน์ แย้มเกษร
19) ณกมล จันทร์สม
20) สมิตา กลิ่นพงศ์
21) บุษกริน นิติวงศ์
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
22) ปิ่นประภา ประวิตรสกล
23) ณัฐนันทิทา ปิ่นกุล
24) ชัชชญา พีระธรณิศร์
คณะเทคนิคการแพทย์
25) เยาวลักษณ์ พิมายนอก
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
26) วรชาติ เฉิดชมจันทร์
27) ทิวา โกศล
28) สมชนก หงษ์ทอง
คณะนิติศาสตร์
29) สุธีราภรณ์ แสงจันทร์ศรี
สถาบันการบิน
30) ประพนธ์ จิตตะปุตตะ
31) ณัฐพล สุขอ้น
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
32) วลัยภรณ์ นาคพันธุ์
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
33) ดวงรัตน์ อาบใจ
34) ปวีณา สุจริตธนารักษ์
35) ณัฐพัชร์ หลวงพล
36) โสราวดี วิเศษสินธพ
37) ศิราภรณ์ ศิริภัลลภ
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
38) สำราญ แสงเดือนฉาย
39) ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์
40) จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
41) ชัชญา สกุณา
42) ฉัตรปกรณ์ ประเสริฐสังข์
43) วรทัย ราวินิจ
คณะทัศนมาตรศาสตร์
44) จิระวรรณ จันทร์ปรางค์
วิทยาลัยนานาชาติจีน
45) สุดารัตน์ ไพรบึง
46) Wang Fengkum
สถาบันภาษาอังกฤษ
47) อรรถสิทธิ์ วงศ์วิเศษ
48) สุภกิจ มหิทธิบุรินทร์
คณะศิลปศาสตร์
49) ดลธิรา คงรักษ์
สำนักงานวางแผน
50) สุรางค์ คำสมาน
51) ปิยะนันท์ อนุสรณ์
52) เกษรินทร์ เรืองรัตน์
53) ธัชฎานันท์ หาเรือนชีพ
สำนักงานกิจการนักศึกษา
54) สมชาย สียะ
55) ฤฤษชัย กอโชคชัย
สำนักงานหอพัก
56) ผดุงทิพย์ แสงปลั่ง
57) ภานุพงษ์ มิ่งขำ
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
58) วรรณา ลิขิตบรรณกร
59) เมทิกา ทิพย์สุขุม
60) อภิวัฒน์ สูยะโพธ
คณะดิจิทัลอาร์ต
61) พจนีย์ กาแก้ว
62) ดรุณี พึ่งวงษ์ญาติ
สำนักงานศิษย์เก่าและชุมชนสัมพันธ์
63) จิรเดช มหายศ
สำนักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม
64) ศรวณีย์ ฤทธิประภาส
สำนักหอสมุด
65) รัตนาภรณ์ กาศโอสถ
66) ประทีป ชินบดี
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
67) สมบุญ นาคพรม
68) เบญจพร เกาะแก้ว
69) เกษสุดา ไชยวงศ์
70) ลิขิต นีรนาทภูรี
71) ปรัชญ์ นันทาสิกร
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
72) ศิริวรรณ วาสุกรี
บัณฑิตวิทยาลัย
73) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์
ฝ่ายพัฒนาบุคคล สำนักงานบุคคล
74) นัยนันทน์ จงสวัสดิ์
75) นิษฐา วีระชน
76) รัชดา วิวัฒน์สกุลเจริญ
คณะบัญชี
77) นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
78) ลักษณา เจริญใจ
สำนักงานตรวจสอบภายใน
79) พาณิกา สังขโย