หลักการและเหตุผล
การวิจัยเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนั้น ผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตควรเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยรวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ทั้งในด้านปริมาณ คือ ต้องทำให้สัดส่วนของผลงานวิจัยมีความสมดุลกับจำนวนอาจารย์ในคณะวิชา และในด้านคุณภาพ ได้แก่ การส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร คณะวิชา และหน่วยงานสนับสนุน ต้องมาผนึกกำลังร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยดังกล่าวกลายเป็นนวัตกรรมหรือข้อมูลสะท้อนกลับอันเป็นประโยชน์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาอาจารย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมีมาตรฐานรวมทั้งส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำวิชาการด้านงานวิจัยเพื่อการศึกษา และบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (Teacher as Research) ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data) เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการวิจัย ทั้งนี้เพราะข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นปัจจัย พื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการดำเนินการวิจัย ถ้าข้อมูลที่ได้รับถูกต้อง เชื่อถือได้ และตรงประเด็น ก็จะส่งผลให้ผลการวิจัยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามสภาพข้อเท็จจริง แต่ในทางกลับกันถ้าข้อมูลที่ได้รับไม่ถูกต้อง เชื่อถือไม่ได้ และไม่ตรงกับประเด็นของเรื่อง ผลการวิจัยที่ปรากฏออกมาจะขาดความสมบูรณ์และไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยปกติก่อนที่ผู้วิจัยจะตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด ผู้วิจัยต้องทำการ วิเคราะห์ตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการศึกษา กับแหล่งที่ต้องการรวบรวมข้อมูลว่าเหมาะสมที่จะใช้เครื่องมือชนิดใด บางครั้งในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน ต้องการวัดตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการศึกษาเดียวกัน แต่มีแหล่งข้อมูลต่างกัน อาจใช้เครื่องมือต่างชนิดกันก็ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดให้มีโครงการฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้คณาจารย์สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน ๕๐ คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
เนื้อหาการฝึกอบรม
วิทยากร
ดร. รณิดา เชยชุ่ม ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วัน เวลา และสถานที่
วันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 ห้อง 1-308 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
กำหนดการ
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์
เรื่อง เทคนิคการเลือกใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558 เวลา 8.30 – 12.00 น.
ณ ห้อง 1-308 ชั้น 3 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต
*****************************************
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 10.30 น. การบรรยาย เรื่อง เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวมรวมข้อมูล เพื่อการวิจัยประเภทต่างๆ
10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง เทคนิคการสร้างและออกแบบเครื่องมือสำหรับการการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย
วันที่ประกาศ: 5 มีนาคม 2558, 16:30