ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

การเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัย

หลักการและเหตุผล

การวิจัยเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนั้น ผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตควรเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยรวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ทั้งในด้านปริมาณ คือ ต้องทำให้สัดส่วนของผลงานวิจัยมีความสมดุลกับจำนวนอาจารย์ในคณะวิชา และในด้านคุณภาพ ได้แก่ การส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร คณะวิชา และหน่วยงานสนับสนุน ต้องมาผนึกกำลังร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยดังกล่าวกลายเป็นนวัตกรรมหรือข้อมูลสะท้อนกลับอันเป็นประโยชน์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาอาจารย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมีมาตรฐานรวมทั้งส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำวิชาการด้านงานวิจัยเพื่อการศึกษา และบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (Teacher as Research) ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

ในกระบวนการวิจัยการเลือกใช้สถิติสำหรับการวิจัย นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งที่จะบอกได้ถึงคุณภาพของงานวิจัย ดังที่นงลักษณ์ วิรัชชัย (2552, หน้า 1,11) กล่าวไว้ว่า สถิติเป็นหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ดังนั้น  สถิติจึงมีบทบาทสำคัญในการวิจัยเชิงปริมาณที่จะช่วยให้นักวิจัยอธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์  การเลือกใช้สถิติมีสิ่งหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขซึ่งนักวิจัยต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ดังนี้

  1. ลักษณะปัญหาวิจัยและจุดมุ่งหมายการวิจัยเป็นตัวชี้นำว่านักวิจัยควรจะเลือกใช้สถิติกลุ่มใด  เช่น ถ้าปัญหาวิจัยเป็นเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ สถิติที่จะเลือกใช้ได้จะเป็นคนกับกลุ่มปัญหาวิจัยที่เป็นเรื่องการเปรียบเทียบ เป็นต้น
  2. กรอบความคิดในการวิจัย หรือโมเดลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามทฤษฎี จะเป็นตัวกำหนดประเภทของสถิติที่จะใช้วิเคราะห์ที่สำคัญตัวหนึ่ง เช่น กรอบความคิดในการวิจัยที่ประกอบด้วยตัวแปรตามหลายตัว  บ่งชี้ว่าควรต้องใช้สถิติวิเคราะห์
  3. ลักษณะกลุ่มประชากร และข้อกำหนดเกี่ยวกับกลุ่มประชากร เป็นตัวบ่งชี้ว่านักวิจัยควรเลือกใช้สถิติกลุ่มใด ระหว่างสถิติพาราเมตริก และสถิตินันพาราเมตริค  นอกจากนี้ การทราบลักษณะของกลุ่มประชากร ยังช่วยให้นักวิจัยตัดสินใจเลือกใช้สถิติได้เหมาะสมอีกด้วย เพราะสถิติบางตัว ที่มีหลายแบบ แต่ละแบบมีข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะประชากรแตกต่างกัน
  4. จำนวนและขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
  5. จำนวนตัวแปร และระดับการวัดของตัวแปร
  6. ข้อตกลงเบื้องต้น(basic  assumptions) ของสถิติแต่ละตัวที่เลือกใช้

เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจ โดยปกติแล้วนักวิจัยอาจเลือกสถิติได้หลายวิธีภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ นักวิจัยควรพิจารณาเลือกวิธีที่ให้ผลการวิเคราะห์ถูกต้อง มีอำนาจในการทดสอบ (power) สูง และเป็นสถิติที่ง่าย  ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดให้มีโครงการฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์ เรื่อง การเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัย ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะทางด้านการวิจัยให้แก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิตต่อไป

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดและประเภทของสถิติที่ใช้ในงานวิจัย

2. เพื่อให้คณาจารย์สามารถเลือกใช้สถิติได้เหมาะสมกับงานวิจัยเพื่อให้การทำงานวิจัยของตนเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักกระบวนการวิจัย

3. เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงานวิจัย

 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย คณะ สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 50 คน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

เนื้อหาการฝึกอบรม

  • ลักษณะและประเภทของสถิติที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามลักษณะและปัญหาการวิจัย ขนาดของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนจำนวนและรับการวัดของตัวแปร
  • เทคนิคการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับการวิจัย

 

วิทยากร

ดร. อรอุมา เจริญสุข  ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

วัน เวลา และสถานที่

วันศุกร์ ที่ 1 พฤษภาคม 2558 ห้อง 1-308 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจสถิติที่ใช้ในสำหรับงานวิจัยประเภทต่างๆ
  2. คณาจารย์สามารถเลือกใช้สถิติได้เหมาะสมกับงานวิจัยเพื่อให้การทำงานวิจัยของตนเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักกระบวนการวิจัย
  3. คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงานวิจัย

 

 

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์

เรื่อง การเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัย

วันศุกร์ ที่ 1 พฤษภาคม  2558  เวลา  8.30 – 12.00 น.

ณ ห้อง 1-308 ชั้น 3 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต

*****************************************

 

 

08.30 – 09.00 น.               ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.               การบรรยาย เรื่อง สถิติประเภทต่างๆที่ใช้ในงานวิจัย

10.30 – 10.45 น.               รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.               การบรรยาย เรื่อง เทคนิคการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัย


วันที่ประกาศ: 17 เมษายน 2558, 10:25

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2015 เวลา 16:30 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
180 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
1) ณัฐพงษ์ หริรักษาพิทักษ์
2) สยัมวรา เชื้อทิน
3) ฐิติ วิทยะสรณะ
คณะเทคนิคการแพทย์
4) เยาวลักษณ์ พิมายนอก
5) สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์
คณะวิทยาศาสตร์
6) กานดา ว่องไวลิขิต
บัณฑิตวิทยาลัย
7) พัชรี ต้นติวิภาวิน
คณะพยาบาลศาสตร์
8) นิภาดา ธารีเพียร
9) อัชฌาณัฐ วังโสม
10) นุชธิดา เจริญชัยยง
11) สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค
12) นปภัช กำแพงศรี
13) อุษา วงษ์อนันต์
14) อาทิตยา สุวรรณ์
15) นิภา กิมสูงเนิน
16) ดวงใจ ลิมตโสภณ
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
17) ฐิติพร กังวานณรงค์กุล
18) อุมาพร วิมลกิตติพงศ์
19) รพีพร มลังไพศรพณ์
สำนักงานประกันคุณภาพ
20) ราณี ถนอมภูมิ
คณะศิลปศาสตร์
21) ดลธิรา คงรักษ์
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
22) นิสิตตา พลโคตร
23) ดวงใจ ดวงฤทธิ์
24) วาสินี ลิ่มวงศ์
25) กนกพร บูรพาพัธ
26) จิรศักดิ์ กุศลวิริยะวงศ์
คณะทัศนมาตรศาสตร์
27) ธารีรัตน์ รักตระกูลวิทยา
คณะเทคโนโลยีอาหาร
28) วาสนา กล้าหาญ
วิทยาลัยรัฐกิจ
29) สุชาติ ชวางกูร
30) ธิดารัตน์ ชื่นประเสริฐสุข
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
31) นิภาพร ปัญญายงศ์
32) ศิริวรรณ วาสุกรี
วิทยาลัยกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา
33) อุสา ชินวะโร
34) ศิรินทร์ สิทธิสุวรรณสิน
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
35) สมบุญ นาคพรม
36) เกษสุดา ไชยวงศ์
37) ลิขิต นีรนาทภูรี
38) ปรัชญ์ นันทาสิกร
สำนักงานมาตรฐานวิชาการ
39) สุดาญา ออประยูร
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
40) สมหมาย บัวแย้มแสง
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
41) โสราวดี วิเศษสินธพ
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
42) วีระศักดิ์ พิทักษ์ศฤงคาร
43) มนัญญา ปัญญาธีระ
คณะนวัตกรรมเกษตร
44) นฤมล ลอยแก้ว
คณะบริหารธุรกิจ
45) บุษกริน นิติวงศ์