หลักการและเหตุผล
ในสังคมยุคปัจจุบันสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแทบทุกแห่งกำลังเผชิญปัญหาคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษา ด้วยเหตุที่วัยรุ่นในช่วงอายุนี้เป็นคน Generation Z ซึ่งเป็นยุคสุดล้ำของเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมออนไลน์ ทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่กระจายถึงกันกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง วัยรุ่นยุคนี้มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบการถูกควบคุม ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ไม่ชอบเงื่อนไข นิยมพฤติกรรมการเลียนแบบกันในสังคมและหมู่คณะ ประกอบกับการเลี้ยงดูบุตรของครอบครัวยุคใหม่ที่เปิดกว้างและค่อนข้างให้อิสระกับลูกมากกว่าสังคมในยุคก่อน ส่งผลให้นักศึกษาสามารถเลือกแนวทางดำเนินชีวิตทั้งในด้านการเรียนและการใช้ชีวิตส่วนตัวได้ด้วยตัวเองอย่างเสรี ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือนเป็นดาบสองคม เนื่องจากหากคนไหนเลือกทางเดินผิดพลาด ย่อมต้องประสบกับปัญหาชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีมากน้อยแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของปัญหา
ปัญหาของนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยที่พบเห็นกันโดยทั่วไปในระดับที่ส่งผลกระทบรุนแรงน้อย ได้แก่ การไม่ตั้งใจเรียน การไม่ตรงต่อเวลา การแต่งกายผิดระเบียบ ไม่ใส่ชุดนักศึกษา ปัญหาในระดับที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่ การทุจริตในการสอบ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาถูกปรับตกหรือไม่สำเร็จการศึกษา การแต่งกายชุดล่อแหลม ยั่วยุทางเพศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาถูกคุกคามทางเพศ การเกาะติดปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ตามกระแสเทคโนโลยีทันสมัย ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต โน๊ตบุ๊ค และการมีรสนิยมหรูใช้สินค้าแบรนด์เนมหรือใช้บริการราคาแพง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ และนำไปสู่การต้องขวนขวายหารายได้เสริมจากอาชีพที่ไม่พึงประสงค์ จนเชื่อมโยงไปสู่การเกิดปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบในระดับรุนแรงมาก เช่น การขายบริการทางเพศ การพนัน การซื้อขายหรือเสพย์ยาเสพย์ติด และการเกิดอาชญากรรม นอกจากนั้น ยังพบว่านักศึกษาจำนวนมากมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์และการทำแท้ง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาก ทั้งต่อตัวนักศึกษาเอง ครอบครัวของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย สังคม และประเทศชาติ นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัญหาการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย เป็นสาเหตุการตายของวัยรุ่นในอันดับต้นๆ รองจากความตายจากอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์เศร้า เนื่องจากขาดความภาคภูมิใจในตนเอง ว้าเหว่ มีเจตคติในทางลบต่อตนเองและสังคม มองตนเองว่าไร้ค่าและไม่มีใครต้องการ มักพบในนักศึกษาวัยรุ่นที่มีปัญหาการเรียน มีปัญหากับแฟน เพื่อน หรือคนในครอบครัว และพบว่าวัยรุ่นผู้หญิงมีอัตราการทำร้ายตัวเองสูงกว่า ในขณะที่วัยรุ่นผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่า ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงมากที่สุดที่ครอบครัวและผู้ใกล้ชิด รวมทั้งสถาบันการศึกษาต้องรีบเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ปัญหาวัยเรียนทั้งหลายที่กล่าวมามีสาเหตุที่เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายนอก เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัว การเข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน ความขัดแย้งภายในครอบครัวและอื่นๆ หรือจากปัจจัยภายใน เช่น ลักษณะนิสัย ค่านิยม หรือทัศนคติของตัวเด็กเอง ภาวะทางอารมณ์ ฯลฯ
ในความเป็นครูอาจารย์ นอกจากจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สอนแล้ว ยังต้องรับบทบาทของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาควบคู่ไปด้วย ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของอาจารย์ นอกจากจะต้องพัฒนาสติปัญญาให้กับนักศึกษา โดยการสอนความรู้ ทักษะเชิงวิชาการ และบ่มเพาะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแล้ว อาจารย์ยังต้องทำหน้าที่แนะนำเกี่ยวกับวิธีการเรียนให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงการดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่นักศึกษากำลังประสบปัญหาหรือเผชิญกับภาวะวิกฤตของชีวิต ในการนี้ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนจึงได้มีการจัดโครงการสัมมนานี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งต้องมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ ช่วยประคับประคอง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับนักศึกษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาสามารถผ่านพ้นปัญหานั้นๆ ไปได้อย่างดีที่สุด
วัตถุประสงค์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
วันเวลาและสถานที่
วันอังคารที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ห้อง 1-308 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์
วิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฏฐพงศ์ ชูทัย
อาจารย์สาขาแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เนื้อหาการสัมมนา
การสัมมนาในครั้งนี้ มุ่งเน้นการให้ความรู้แก่อาจารย์ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ต้องให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในการชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่พบได้อยู่เสมอ ได้แก่ การเรียนตกต่ำ มีปัญหาความรัก มีปัญหาครอบครัว การถูกคุกคามทางเพศ การติดยาเสพย์ติด การติดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพนัน การตั้งครรภ์ในระหว่างยังศึกษา การตกอยู่ในภาวะอารมณ์วิกฤตจนถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์ใหม่ของคณะวิชาที่มีอายุงาน 0-3 ปี และอาจารย์ผู้สนใจ จำนวนรวม 50 คน
การประเมินผลโครงการ
- เชิงปริมาณ > จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย
- เชิงคุณภาพ > คะแนนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อวิทยากร ประโยชน์ที่ได้รับ และการดำเนินการจัดงาน มีค่าไม่น้อยกว่า 4.00
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
กำหนดการ
โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะอาจารย์ที่ปรึกษา
เรื่อง”ปัญหาวัยเรียน”แก้ไขอย่างไรให้ถูกวิธี
วันอังคารที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ห้อง 1-308 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์
----------------------------------------------------
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-11.45 น. การบรรยายในหัวข้อ
- ภาระหน้าที่และบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
- หลักการ กระบวนการขั้นตอน และเทคนิคในการให้คำปรึกษา
- แนวทางการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ
โดยเฉพาะปัญหาที่พบได้อยู่เสมอ ได้แก่ การเรียนตกต่ำ มีปัญหาความรัก มีปัญหาครอบครัว การถูกคุกคามทางเพศ การติดยาเสพย์ติด การมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพนัน การตั้งครรภ์ในระหว่างยังศึกษา การตกอยู่ในภาวะอารมณ์วิกฤตจนถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น
11.45-12.00 น. ถาม-ตอบ ข้อสงสัย
12.00 น. ปิดการฝึกอบรม
วันที่ประกาศ: 7 กันยายน 2558, 08:57
# | รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม |
---|---|
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน | |
1) | สมบุญ นาคพรม |
2) | เบญจพร เกาะแก้ว |
3) | เกษสุดา ไชยวงศ์ |
4) | ลิขิต นีรนาทภูรี |
5) | ปรัชญ์ นันทาสิกร |
คณะบริหารธุรกิจ | |
6) | พิทยา คุณโอภาส |
7) | อารีรัตน์ แย้มเกษร |
8) | นัยเกียรติ พงษ์พัฒนศึกษา |
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ | |
9) | ศิริวรรณ วาสุกรี |
ฝ่ายพัฒนาบุคคล สำนักงานบุคคล | |
10) | นัยนันทน์ จงสวัสดิ์ |
11) | นิษฐา วีระชน |
สถาบันการบิน | |
12) | พูนลาภ เอี่ยมเจริญ |
สำนักงานตรวจสอบภายใน | |
13) | พาณิกา สังขโย |
คณะวิทยาศาสตร์ | |
14) | อรพรรณ วนขจรไกร |
15) | สุกัญญา พึ่งพงศ์ |
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก | |
16) | อัมพรรัตน์ ประไพวงศ์ |
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ | |
17) | ชัชญา สกุณา |
18) | วรทัย ราวินิจ |
19) | ขวัญชนก โชติมุกตะ |
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม | |
20) | อภิรัตน์ กังสดารพร |
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ | |
21) | สุธีนี ธีระบุตร์ |
22) | จิระจิตรา ฮิคคินส์ |
คณะนวัตกรรมเกษตร | |
23) | มุตตา รอดตัวดี |
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ | |
24) | ปรีชญา กิตติไพศาล |
คณะดิจิทัลอาร์ต | |
25) | ปฐม สุปรียาพร |