ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โครงการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  

เรื่อง กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หลักการและเหตุผล

        มหาวิทยาลัยรังสิตมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็น “ขุมพลังแห่งปัญญาของชาติเพื่อปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมธรรมธิปไตย”และมีเอกลักษณ์คือ“มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ที่การศึกษาคือนวัตกรรม”ซึ่งมหาวิทยาลัย ได้นำการจัดการความรู้  (Knowledge Management - KM)  มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาองค์กรโดยมีกระบวนการจัดการความรู้ที่สำคัญคือ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การแบ่งปันความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้โดยผลักดันและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับคณะ  สถาบัน และสำนักได้มีการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของการทำงานในหลากหลายมิติ  อาทิ ด้านเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์  การยึดมั่นคุณธรรม การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เน้นหลักประหยัด  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล  เป็นต้น        

        โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา คณะวิชาต่างๆ ได้มีส่วนร่วมดำเนินการจัดการความรู้ด้วยการถอดความรู้และประสบการณ์จากคณาจารย์ภายในคณะวิชา และนำข้อมูลขึ้นสู่เว็บไซต์การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะอนุกรรมการการจัดการความรู้แต่ละชุดทำงานได้ทำการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำออกมาเป็นชุดประสบการณ์ความรู้เพื่อจะนำขึ้นจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรได้นำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์และใช้ประโยชน์ต่อไป แต่ทั้งนี้ เพื่อให้กิจกรรมการจัดการความรู้ดำเนินไปอย่างครบถ้วนตามกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของการจัดการความรู้ จึงต้องมีการจัดโครงการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้น เพื่อสร้างเวทีให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางระหว่างคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำให้เกิดการรับรู้ การร่วมเรียนรู้ และการนำความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อันสนองตอบต่อนโยบายและเป้าหมายด้านการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย

    

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ความรู้ และถ่ายโอนประสบการณ์การเรียนรู้ (Knowledge Sharing Forum) เกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระหว่างคณะคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย
  2. เพื่อหารูปแบบและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของเทคนิคและวิธีการสอนของอาจารย์ ในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา

 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย / คณะ / สถาบัน / หน่วยงาน ต่างๆ จำนวน 60 คน

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

กิจกรรมการดำเนินงาน

  1. การจัดเวทีเสวนา โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องเทคนิคการจัดการเรียนการสอนมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีเหมาะสมกับหลักสูตรและเนื้อหาวิชาแตกต่างกันไป นอกจากนั้นยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ขนาดห้องเรียน จำนวนนักศึกษา และศักยภาพของเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของอาจารย์ผู้สอนที่ต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอนที่เหมาะสม รวมถึงต้องมีการนำเทคนิควิธีการนำเสนอที่น่าสนใจเข้ามาใช้เพื่อกระตุ้นและเร้าความสนใจนักศึกษา
  2. การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี กับ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ-การออกแบบ

         

สถานที่และวันเวลาในการดำเนินงาน

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. ห้อง 1-801 ชั้น 8 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

 

วิทยากร

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

                     : สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา

                       คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณี หงษ์สิริวัฒน์

                     : สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา

                       คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ความรู้ และถ่ายโอนประสบการณ์การเรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง
  2. อาจารย์และบุคลากรเห็นคุณค่าของการแบ่งปันความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้                         
  3. อาจารย์ของวิทยาลัย / คณะ / สถาบัน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในความรับผิดชอบของตนเองต่อไป
  4. เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ไปสู่“องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Learning  Organization - LO)
  5. เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้างความรู้  การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

 

 

กำหนดการ

โครงการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  

เรื่อง กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 เวลา 09.00-16.00 น.

ณ ห้อง 1-801 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์

08.30-09.00 น. - ลงทะเบียน

09.00-09.15 น. - กล่าวเปิดโครงการเสวนา โดย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

09.15-10.30 น. - การเสวนาถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

                       เป็นสำคัญ กรณีศึกษา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                       วิทยากร : ผศ.ดร.อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ และ ผศ.ดร.อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

10.30-10.45 น. - พักรับประทานอหารว่าง

10.45-12.00 น. - การเสวนา (ต่อ)

12.00-13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน (บุฟเฟ่ต์)

 

13.00-14.30 น. - การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี

วิทยากรประจำกลุ่ม ผศ.ดร.อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

- กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ-การออกแบบ

วิทยากรประจำกลุ่ม ผศ.ดร.อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

14.30-14.45 น. - พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น. - ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิทยากรสรุปผลการสัมมนา

 

 

-------------------------------------------------------------------

 

 

 


วันที่ประกาศ: 16 พฤษภาคม 2559, 13:45

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2016 เวลา 09:00 ถึง 16:00น.
รวมเวลา
360 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะพยาบาลศาสตร์
1) วารินทร์ บินโฮเซ็น
2) รัชนี นามจันทรา
3) กนกวรรณ ฉันธนะมงคล
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
4) วนิดา โอศิริพันธุ์
5) วราพร ลักษณลม้าย
6) เบ็ญจรัก วายุภาพ
7) กิ่งกมล ลีลาจารุวรรณ
คณะบริหารธุรกิจ
8) รุจาภา แพ่งเกษร
9) อารีรัตน์ แย้มเกษร
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
10) โกวิท รพีพิศาล
11) ศิริวรรณ วาสุกรี
12) วุฒิพงษ์ ชินศรี
13) ชุติมา เบี้ยวไข่มุข
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
14) ชัชชญา พีระธรณิศร์
15) นิภาพร เฉลิมนิรันดร
16) สุพัตรา ประดับพงศ์
17) มณีเพ็ญ อภิบาลศรี
คณะศิลปศาสตร์
18) ชัชชัย คุ้มทวีพร
19) วรพล มหาแก้ว
คณะวิทยาศาสตร์
20) ชาติชาย ตระกูลรังสิ
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
21) สกุล หิรัญเดช
22) วรุตม์ เอมอุดม
คณะดิจิทัลอาร์ต
23) พนัส โภคทวี
24) ชินธิป ตั้งศิริพัฒน์
วิทยาลัยรัฐกิจ
25) วันวิชิต บุญโปร่ง
คณะบัญชี
26) วัลลภ บัวชุม
27) อิทธิเดช แสงพม
วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์
28) สุชาดา วุฑฒกนก
29) วัชรินทร์ จงกลสถิต
สถาบันการบิน
30) ศุภกฤต อริยะปรีชา
วิทยาการการออกแบบ
31) สิรดา ไวยาวัจมัย
32) กำจร แซ่เจียง
วิทยาลัยดนตรี
33) ชัชพล เจียมจรรยง
34) ดลหทัย อินทวงศ์
35) บัณจินดา เหล่าไทย
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
36) ภูร นิมมล
37) ขวัญชนก โชติมุกตะ
อาชญาวิทยา
38) ศศิภัทรา ศิริวาโท
คณะรังสีเทคนิค
39) ณัฐพงศ์ ด่านธนวัฒน์
40) สุนทรีย์ ศรีวงศ์ษา
วิทยาลัยนานาชาติจีน
41) ชัชญา กิจธรปกรณ์
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
42) ฐาปนาวรรณ นาสมยนต์