ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการอบรม เรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

โครงการอบรม เรื่อง  การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

หลักการและเหตุผล                                  

      ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเอกชนต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย มากขึ้น ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวคิด R2R หรือ Routine to Research เปรียบเสมือนนวัตกรรมหรือเครื่องมืออย่างหนึ่งในด้านการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นกลไกผลักดันให้บุคลากรในองค์กรขวนขวาย ศึกษาค้นคว้า นำหลักของกระบวนการทำวิจัยมาใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานประจำ รวมถึงพัฒนาต่อยอดงานประจำนั้นๆ เป้าหมายสำคัญของ R2R มุ่งเน้นการส่งเสริมให้นำกระบวนการวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นแบบเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้บุคลากรสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ในหลายด้าน เช่น การวางแผนงาน คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา พัฒนาวิธีการทำงาน ฯลฯ ทำให้บุคลากรมีความภาคภูมิใจที่สามารถสร้างความรู้จากงานที่รับผิดชอบได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้น องค์กรยังได้รับประโยชน์จากการทำงานบนฐานความรู้ที่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้   ด้วยเหตุนี้ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน จึงร่วมกับ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงวิชาการนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนางานประจำไปสู่การทำงานวิจัย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยเบื้องต้นทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ สามารถนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานได้
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความสามารถในการสังเคราะห์ปัญหาจากงานประจำและพัฒนาเป็นงานวิจัยได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนางานประจำของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 50 คน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

วัน  เวลา และสถานที่

            วันที่ 21-22 มกราคม 2559  ห้อง 1-308  เวลา 8.30-16.30 น.

ผศ.ดร.อริสรา  เล็กสรรเสริญ  และทีมงาน

ประธานหลักสูตรการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา(นานาชาติ)

 คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้
  2. ผู้เข้าอบรมสามารถทำโครงร่างวิจัยเพื่อต่อยอดเป็นงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพได้

วันที่ประกาศ: 16 พฤษภาคม 2559, 13:55

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันที่ 21 มกราคม 2016 เวลา 09:00น. ถึงวันที่ 22 มกราคม 2016 เวลา 16:00น.
รวมเวลา
720 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
1) ปวีณา สุจริตธนารักษ์
2) ธารินี พัชรเจริญพงศ์
3) โสราวดี วิเศษสินธพ
4) ศิราภรณ์ ศิริภัลลภ
สำนักหอสมุด
5) พัชรา หาญเจริญกิจ
6) นฤมล พฤกษศิลป์
7) รัตนาภรณ์ กาศโอสถ
8) ดาวรัตน์ แท่นรัตน์
9) กาญจนา เพ็งคำศรี
10) สุรีรัตยา บุญแสนแผน
11) ลมัย ประคอนสี
12) ประทีป ชินบดี
คณะบัญชี
13) เกศรา สุพยนต์
14) วิภาพร กลั่นคำ
สำนักงานกิจการนักศึกษา
15) ณิชาภัทร ฉายศรี
คณะศิลปศาสตร์
16) รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล
วิทยาการการออกแบบ
17) วัชรี ศรีวิชัย
18) กิตติวัฒน์ โลหะการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
19) ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์
สำนักอธิการบดี
20) ลักขณา วิโรจน์ธีระกุล
ศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ
21) ปภังกร พิชญะธนากร
วิทยาลัยดนตรี
22) วีรภัทร์ อึ้งอัมพร
23) อานุภาพ คำมา
สถาบันการบิน
24) ศุภกฤต อริยะปรีชา
ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
25) นภาพรรณ พงษ์พวงเพชร
คณะพยาบาลศาสตร์
26) วิลาวัลย์ อุดมการเกษตร
27) สุวรีย์ เพชรแต่ง
28) ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ
29) ดวงใจ ลิมตโสภณ
30) ปริศนา รถสีดา
31) พัชราภรณ์ ฝ่ายหมื่นไวย์
32) ปรียาภรณ์ มณีแดง
33) มณี น้าคณาคุปต์
34) คชารัตน์ ปรีชา
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
35) ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
36) ดุสิดา ประนิช
คณะนิติศาสตร์
37) ปราโมทย์ พิพัฒนาศัย
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
38) ณัฏฐสิต วิทยาวัชรินทร์
สำนักงานวางแผนและพัฒนากิจการนักศึกษา
39) ชลหทัย แสงกระจ่าง
สำนักงานอธิการบดี
40) วราภรณ์ อดุล