ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยรังสิต


ฐานข้อมูลโครงการฝึกอบรม/สัมนา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

โครงการฝึกอบรมเรื่อง “เทคนิคการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย”

หลักการและเหตุผล

การวิจัยเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนั้น ผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตควรเพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัยรวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ทั้งในด้านปริมาณ คือ ต้องทำให้สัดส่วนของผลงานวิจัยมีความสมดุลกับจำนวนอาจารย์ในคณะวิชา และในด้านคุณภาพ ได้แก่ การส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญและถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร คณะวิชา และหน่วยงานสนับสนุน ต้องมาผนึกกำลังร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ให้คณาจารย์และบุคลากรของคณะวิชาต่างๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผลงานวิจัยดังกล่าวกลายเป็นนวัตกรรมหรือข้อมูลสะท้อนกลับอันเป็นประโยชน์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาอาจารย์พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมีมาตรฐานรวมทั้งส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยเผยแพร่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำวิชาการด้านงานวิจัยเพื่อการศึกษา และบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย (Teacher as Research) ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

การเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัยเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการวิจัย เป็นการประเมินหรือขยายความของผลการวิจัย เพื่อยืนยันว่าผลการวิจัยที่ได้น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เป็นจริง โดยชี้ให้เห็นว่า ผลการวิจัยสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ตรงตามข้อเท็จจริงที่พบตรงตามแนวคิด ทฤษฏีและผลการวิจัยคนอื่นหรือไม่ อย่างไร ผลการวิจัยนั้นเป็นไปตามแนวความคิด ทฤษฏีอะไรบ้าง รวมทั้งมีความขัดแย้งหรือไม่ กรณีที่มีความขัดแย้งจะต้องอธิบายเหตุผลและหาข้อมูลสนับสนุน ชี้แจงความเป็นไปได้ของผลการวิจัยนั้นๆ ซึ่งการอธิบายเหตุผลเพื่อสนับสนุนหรือขัดแย้งกับผลการวิจัย ต้องเป็นเหตุเป็นผลที่น่าเชื่อถือสอดคล้องกับลักษณะผลที่เกิดดังกล่าว รวมทั้งต้องอยู่บนพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎีและกระบวนการวิจัยอย่างชัดเจน เช่น ขอบเขตของการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดให้มีโครงการฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์ เรื่อง เทคนิคการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้คณาจารย์สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้คณาจารย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักและวิธีการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย
  2. เพื่อให้คณาจารย์สามารถนำเทคนิคการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย ไปใช้ในงานวิจัยของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ระหว่างกันในด้านการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย

 

กลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์จากวิทยาลัย/คณะ/สถาบัน ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 50 คน

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

 

เนื้อหาการฝึกอบรม

  • หลักการ และความหมายของการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย
  • เทคนิคการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย
  • ข้อควรคำนึงในการการเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย
  • ตัวอย่าง การเขียนสรุป อภิปรายผลการวิจัย

 

วิทยากร

ดร. อรอุมา  เจริญสุข  ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

วัน เวลา และสถานที่

วันศุกร์ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560 ห้อง 1-302  ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1)


วันที่ประกาศ: 26 กุมภาพันธ์ 2560, 11:14

ระยะเวลา
ต้องเข้าอบรมตามเวลาที่กำหนด
1)
วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2017 เวลา 08:30 ถึง 12:00น.
รวมเวลา
180 นาที
สถานที่
อาคาร 1

# รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
คณะศิลปศาสตร์
1) จิรพร รักษาพล
2) อำนาจ มะหะหมัด
3) ศนิวาร วุฒฑกุล
4) รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล
5) สรไน รอดนิตย์
คณะบริหารธุรกิจ
6) สุมาลี สว่าง
7) พงษ์ยุทธ กล้ายุทธ
8) ปาจรีย์ เหลี่ยงประดิษฐ์
9) ณกมล จันทร์สม
10) อำพร พัวประดิษฐ์
11) พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
12) นิธิภา อาจฤทธิ์
13) ธัญวรัตน์ แดงลิ่ม
14) ศิริวรรณ วาสุกรี
ศูนย์กีฬาและสุขภาพ
15) ปรานม ดีรอด
16) สุจิตรา บุญเกิด
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์
17) ทิพย์สุชน เอี่ยมสอาด
18) ดวงใจ ดวงฤทธิ์
19) เบญจวรรณ แจ่มใส
20) วิภาดา สัมประสิทธิ์
21) นภาพร ลักขณา
22) ธิติยา ลักคุณะประสิทธิ์
คณะทัศนมาตรศาสตร์
23) จิระวรรณ จันทร์ปรางค์
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
24) ชิดชไม วิสุตกุล
25) ชัชชญา พีระธรณิศร์
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
26) รง ภู่พวงไพโรจน์
27) สกุล หิรัญเดช
28) โอภาส จุฑาเทพ
29) ชนินท์ วงศ์ใหญ่
คณะนิติศาสตร์
30) มงคล เทียนประเทืองชัย
31) ปราโมทย์ พิพัฒนาศัย
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
32) สมพร ผลกระโทก
33) อัมพรรัตน์ ประไพวงศ์
34) สุกัลญา หลีแจ้
35) ณัฐกาญจน์ แดงมณี
36) นันทพงศ์ ขำทอง
37) ธีรทัศน์ สุดสาย
คณะวิทยาศาสตร์
38) อรจิรา อารักษ์สกุลวงศ์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
39) ฐิติ วิทยะสรณะ
40) ศศโสฬส จิตรวาณิชกุล
สำนักงานมาตรฐานวิชาการ
41) สุดาญา ออประยูร
คณะบัญชี
42) นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
43) อวยชัย เขียวขำ
คณะพยาบาลศาสตร์
44) มาณี น้าคณาคุปต์
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้
45) ธารินี พัชรเจริญพงศ์
46) โสราวดี วิเศษสินธพ
วิทยาลัยดนตรี
47) อานุภาพ คำมา
สถาบันภาษาอังกฤษ
48) วรณิช วสุรัตน์
ฝ่ายพัฒนาและแผนการเงิน
49) ธัชฎานันทน์ ไกรนรา