หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร โดยเน้นที่คุณค่าในรูปแบบของ Non financial ที่ไม่สามารถจับต้องได้เป็นหลัก ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวชี้นำถึงโอกาสและขีดความสามารถขององค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
คุณค่าในรูปแบบที่ไม่สามารถจับต้องได้ที่กล่าวมานั้น หมายถึง ทุนทางปัญญาขององค์กร (Intellectual capital) ที่มีความหมายครอบคลุมถึง ความรู้ ความสามารถของบุคลกรและองค์กร ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสร้างหรือก่อให้เกิดคุณค่าเพิ่มและมูลค่าเพิ่ม โดยจำแนกออกเป็น ทุนด้านลูกค้า ทุนด้านองค์กร และทุนมนุษย์ ซึ่ง “การบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) ” คือ เครื่องมือสำคัญในการนำไปใช้บริหารจัดการทุนทางปัญญาเหล่านี้ ให้เป็นไปอย่างมีระบบทั้งในส่วนของกระบวนการและปัจจัยส่งเสริมอื่น
การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในเรื่องการบริหารจัดการองค์ความรู้นั้น ต้องประกอบด้วย การมีกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ รัดกุม เข้มแข็ง และมีความต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่จำเป็นด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์ความรู้ สามารถนำหลักการเรื่องการบริหารจัดการองค์ความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ทั้งในระดับองค์กรและหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถสูงสุดของบุคลากร อันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นหน่วยงานสนับสนุนของฝ่ายวิชาการ ที่มีภารกิจหลักในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา การผลิตสื่อการสอน ตำราและเอกสารทางวิชาการ ให้แก่คณาจารย์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้ง ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้ความช่วยเหลือคณะวิชาในการวิเคราะห์ ศึกษาปัญหา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษา นอกจากนั้น ยังให้การส่งเสริมด้านการจัดโครงการพัฒนาความรู้แก่คณาจารย์ และให้ทุนสนับสนุนแก่คณาจารย์ในการทำผลงานวิจัยด้านพัฒนาการเรียนการสอน
ทั้งนี้ จากการรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน พบว่า
1.ไม่มีการจัดทำระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน สาเหตุ และแนวทางการแก้ไข
2.บุคลากรไม่มีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เผยแพร่ กระจาย ถ่ายโอน องค์ความรู้ ทักษะ ความคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างกัน
3.บุคลากรขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงาน
4.ไม่มีการสร้างระบบคลังความรู้เชิงวิชาชีพในสายงานด้านต่างๆ รวมทั้งช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ขาดแหล่งข้อมูลและช่องทางในการสนับสนุนให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5.สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน ไม่เอื้อต่อการสร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเรียนรู้
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ ขึ้นในหน่วยงาน ดังนั้น ทางศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ให้ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มจากการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎี รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติที่สามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้จริงสำหรับแต่ละสายงาน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนได้รับองค์ความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM)
2.เพื่อให้บุคลากรของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM) เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ตามสายงานของตนเองได้ประสบผลสำเร็จ
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน จำนวน 40 คน
วิทยากร
ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา [วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Knowledge Management (KM) จาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต]
วัน เวลา และ สถานที่
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2552 เวลา 9.00 - 16.00 น. ณ ห้อง 705 อาคาร อาทิตย์ อุไรรัตน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.บุคลากรของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนมีความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM)
2.บุคลากรของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนทราบถึงแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM) ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการสร้าง “แผนปฏิบัติการระบบบริหารจัดการองค์ความรู้” ( KM Action Plan) ตามสายงานของตนเองได้ประสบผลสำเร็จ
วันที่ประกาศ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 10:41
# | รายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรม |
---|---|
ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน | |
1) | กชพร ต้นสินธุ์ |
2) | สมบัติ พุฒตาล |
3) | อดิศร สิริสี |
4) | อธิวัฒน์ กัณหเวก |
5) | จิดารักษ์ ละออ |
6) | เดชฤทธิ์ อุดคำมี |
7) | ทศพร ไกรสรสินธุ์ |
8) | นฤชา เชยกลิ่นเทศ |
9) | นิคม แก้วแกมทอง |
10) | นิรุติ เภารัศมี |
11) | พงศธร จาตุรนต์ภากร |
12) | พรชัย เม้ยชม |
13) | เพิ่มศักดิ์ บางสาลี |
14) | ระตินัย ธาราชีพ |
15) | วันชัย ผุสิงห์ |
16) | วายุ ภิญกิจ |
17) | วิเวก ศรีภุมมา |
18) | วิสูตร์ ชาญช่าง |
19) | สมควร พงษ์จันทร์ |
20) | สมจิตร ฟักสังข์ |
21) | สมสิทธิ์ อุปะสัมปะกิจ |
22) | สมัย สุขรัง |
23) | สุทัศน์ ถิ่นน้ำใส |
24) | สุริยะ ศรีศักดิ์นอก |
25) | ใหม่ เภารัศมี |
26) | อภิชาติ โชคสกุลรัตน์ |
27) | อรวรรณ คล้ายคลึง |
28) | อังคณา อัครวงษ์ |
29) | กิตติพงษ์ เกิดสาด |
30) | นธภณ รกรุ่งโรจน์ |
31) | เอนก ประจำวงศ์ |
32) | สมบุญ นาคพรม |
33) | เบญจพร เกาะแก้ว |
34) | เกษสุดา ไชยวงศ์ |
คณะบริหารธุรกิจ | |
35) | อารีรัตน์ แย้มเกษร |