ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
[2556] จากคลังคามรู้ที่ 2 ของเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใครเอาไปใช้แล้วได้ผลอย่างไรบ้าง มา share กันนะครับ
ขณะนี้คณะอนุกก. KM ได้จัดทำ (ร่าง) ชุดประสบการณ์ฯ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเสร็จแล้ว จึงขอเรียนเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สนับสนุนกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีประสบการณ์โดยตรง โดยการจัดชั่วโมงพานักศึกษาออกฝึกปฏิบัตินอกสถานที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะวิชาและการออกแบบของอาจารย์ผู้สอน นักศึกษาจะได้ความรู้จากการเรียนรู้ด้วยตนเองและได้เห็นถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะทำได้ดีหรือไม่ก็ตาม แต่ก็จะทำให้เขามีประสบการณ์สามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ในอนาคตได้ต่อไป ตัวอย่างเช่น กรณีของข้าพเจ้าพานักศึกษาที่เรียนในรายวิชาเศรษฐศาสตร์การคลังออกเก็บข้อมูลงานวิจัยซึ่งหัวข้อของการศึกษาสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน นักศึกษาจะได้รับการชี้แจงทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของแต่ละคำถามเพื่อเก็บข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง เมื่อถึงเวลาออกพื้นที่อาจารย์จะคอยเป็นพี่เลี้ยงในการรับฟังถึงปัญหาและช่วยในการแก้ปัญหา พบว่านักศึกษาต่างมีเรื่องเล่ามากมายจากการได้ลงพื้นที่ เนื่องจากต่างเป็นประสบการณ์ใหม่ที่เขาไม่เคยได้พบเจอ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคและไม่สามารถเก็บแบบสอบถามงานวิจัยได้ตามเป้าหมาย แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาก็มากเกินกว่าที่จะประเมินได้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยสร้างกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาเรียนรู้และสามารถประเมินความรู้ตนเองได้จากผลลัพธ์ของกิจกรรม แล้วสามารถแก้ไขผลงานให้ถูกต้อง และดีขึ้นได้ด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในการเรียนรู้ เช่น กรณีวิชา Route survey ที่เป็นการเรียนแบบ lecture แต่ได้มอบหมายให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม โดยทำการออกแบบโค้งราบ จัดทำรายการคำนวณ แล้วนำรายการคำนวณนั้นไปลองวางโค้งจริงที่สนาม ประเมินความถูกต้องการวางโค้งจากการวัดตำแหน่งต่างๆ บนโค้งเทียบกับค่าควบคุมที่คำนวณไว้ก่อนในรายการคำนวณ เมื่อพบข้อผิดพลาดก็ตรวจสอบทันทีว่าเกิดที่รายการคำนวณ หรือเกิดที่การทำงานสนาม นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานแบบ cross check และ recheck ซึ่งจะเป็นหนึ่งในวิธีการทำงานที่สำคัญและจำเป็นต่อผู้มีอาชีพวิศวกรซึ่งต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกจากผลงานสำรวจออกแบบของตนเอง
การฝึกและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมโดยการสอดแทรกสื่อธรรมในชั่วโมงเรียน เช่น การเปิดคลิปวีดีโอพุทธวจน (watnapp.com) ให้นักศึกษาดูก่อนเริ่มเรียน 10 นาวี ช่วยทำให้นักศึกษามีสมาธิก่อนเรียน และได้ธรรมที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาไปปฏิบัติ หรือ แนะนำทางเข้าถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อผู้อื่นต่อไป
การนำเทคนิค “ทำเรียนให้เป็นเล่น และทำเล่นให้เป็นเรียน” เป็นการจัดการให้เกิดการเรียนรู้แบบ Edutainment ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้ผลมากกว่าการฟังอย่างเดียว
การทำประเด็นร้อน (Hot issue) หรือเรื่องที่อยู่ในกระแสความสนใจมาวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นในหลายๆ มุมมอง ไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย มุมมองด้านอื่นที่สังคมไม่ได้พิจารณา เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้นักศึกษาได้เห็นว่าเรื่องราวหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นสามารถมองเห็นได้จากหลายมุมมอง
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบของ Problem base learning โดยการตั้งคำถามก่อนเริ่มการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ แล้วจึงให้ข้อมูลความรู้ตามเนื้อหาและสรุปให้เห็นว่าสิ่งที่เรียนมีความเกี่ยวข้องหรือใช้แก้ไขปัญหาในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร
เนื่องจากผู้เรียนอยู่ในยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยและใช้งานเครื่องมือสื่อสารต่างๆ อยู่แล้ว เราสามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น โดยการมอบหมายงานให้หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่านอกจากความสะดวกและความบันเทิงที่ได้รับแล้ว ยังมีสาระความรู้ที่สามารถหาได้จากสิ่งที่เขาใช้งานอยู่
การมอบหมายโครงการให้ผู้เรียนรับผิดชอบเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ในการวางแผน แบ่งงาน ดำเนินการโดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างหลากหลาย
การที่ผู้สอนจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่วนตัวคิดว่า ควรเป็นไปตามหลักการที่ว่าต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนเก่งและคนดี ผู้สอนต้องพยายามสอดแทรกหรือบ่มเพาะคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม หรือ Good Habit ให้แก่ผู้เรียนด้วย เพื่อที่จะปลูกฝังคุณธรรมให้เขาเป็นเด็กมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจ ขยันหมั่นเพียร มีระเบียบวินัย และมีความเสียสละ
เห็นด้วยกับความคิดเห็นข้างต้น นอกจากนั้น ควรต้องพัฒนาลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน ผนวกเข้าไปด้วย เพราะนักศึกษาจะได้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้ออกไปทำงานในสถานประกอบการได้อย่างราบรื่น ทำงานประสานกันเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานได้โดยไม่มีปัญหา
การนำเอา social network มาใช้เป็นเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน สำหรับในรายวิชาของตนเองก็นำมาใช้อยู่ และคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มาก ทำให้สามารถพูดคุย ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาได้ง่ายขึ้น สามารถ share link แหล่งข้อมูลต่างๆ ให้นักศึกษาเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมได้
การใช้สังคมออนไลน์ บางครั้งถูกมองว่า มันเหมือนเป็นเรื่องสิ้นเปลือง ไม่มีประโยชน์ อาจารย์และนักศึกษาเล่นกันเหมือนเป็นสิ่งเสพติด เสียเวลาเรียนและเวลาทำงาน แต่ของทุกอย่างมีทั้งด้านดีและไม่ดี ถ้าเรามองเห็นและนำด้านดีนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
ในปัจจุบันที่พวกเราต้องสอนเด็ก Gen Y ที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี IT และ Social network แล้วต่อไปก็ต้องสอนพวก Gen Z ที่เกิดหลังจากปี 2540 เป็นต้นไป ทำให้อาจารย์ผู้สอนรุ่นป้ารุ่นลุงอย่างเรา ต้องปรับกระบวนทัศน์และวิธีคิดใหม่ ต้องพัฒนาตัวเองแข่งกับเด็ก อะไรที่ไม่เคยใช้ ใช้ไม่เป็น และไม่เคยคิดจะใช้ ก็ต้องจำใจไปซื้อมาใช้ มาศึกษา เรียนรู้ และทำให้เป็น เพื่อพัฒนาตัวเองให้เป็นอาจารย์พันธุ์ใหม่ ไม่ให้เด็กบ่นว่า “เบื่ออาจารย์เชยๆ”
การประเมินพัฒนาการผู้เรียนด้วยการ pre-conference และ post-conference เป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะปกติก็จะใช้เวลาต้องไปนิเทศก์นักศึกษาที่ออกไปฝึกงานภายนอก การได้มาประชุมพูดคุยกันทำให้อาจารย์มองเห็นถึงจุดเริ่มต้นที่นักศึกษาเป็นอยู่และพัฒนาการที่เกิดขึ้น หลังจากที่เขาได้มีโอกาสออกไปฝึกปฏิบัติงานที่สถานประกอบการภายนอก แต่ระหว่างทางอาจารย์ผู้สอนต้องไม่ทิ้งช่วงรอไปประเมิน post-conference แค่เพียงครั้งเดียวเลย แต่ควรต้องมั่นติดตามนักศึกษาเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบถึงสถานการณ์ความเป็นไป และรู้ว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่ จะได้ช่วยให้คำแนะนำในการแก้ไขได้ทันเวลา
การจะจัดกิจกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้เกิดสัมฤทธิผลที่ดี อาจจะเป็นปัญหาอยู่บ้างสำหรับอาจารย์ผู้สอนที่ไม่ได้จบมาทางครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์โดยตรง เพราะอาจารย์ของเราส่วนใหญ่ก็มาจากสายวิชาชีพทั้งนั้น ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยควรมีการกำหนดนโยบายในการเตรียมความพร้อมสำหรับอาจารย์ใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนมาก่อน ว่าต้องผ่านการเรียนรู้หรือฝึกอบรมในกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในเรื่องอะไรบ้าง ที่จำเป็นน่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผล
ในปี 2558 ที่จะประเทศไทยจะต้องเข้าร่วมประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว ทำให้หลายสถาบันอุดมศึกษามีการปรับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนของตัวเอง เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้สามารถรับมือกับการเผชิญวัฒนธรรมการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งนักศึกษาของเราที่เรียนโปรแกรมไทย ส่วนใหญ่ยังมีปัญหามากในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงเห็นด้วยที่เราจะให้ความสำคัญกับการรวบรวมเทคนิคการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นเรื่องการสื่อสารในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน มากกว่าการเน้นเรื่องไวยากรณ์
“การประเมินพัฒนาการผู้เรียน” ในกรณีที่ให้งานผู้เรียนเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการให้ผู้เรียนเสนอกระบวนการของกลุ่มพร้อมผลงานในตอนท้าย ซึ่งผู้สอนคงไม่สามารถติดตามการทำงานของกลุ่มได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้สอนจะสามารถติดตามการทำงานของกลุ่มผู้เรียนได้โดยการทำแบบประเมินการทำงานที่สามารถวัดทั้งกลุ่มและตนเองเพื่อให้ผู้เรียนประเมินด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลอีกทางหนึ่ง
อยากทราบว่า PBL จะใช้พัฒนารูปแบบการสอนในรายวิชาทางสังคมศาสตร์ อย่างไรดีคะ
การเรียนห้องเรียนขนาดใหญ่ ได้ทดลองใช้วิธีแบ่งกลุ่มทำการบ้านและตรวจการบ้านกันเองโดยการสลับกลุ่ม โดยเฉลยให้เฉพาะหลักการจะถือว่าเป็นการเรียนแบบเป็นศูนย์กลางหรือไม่ครับ
ผู้สอนควรใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงาน สลับสับเปลี่ยนกับรูปแบบการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
ผู้เรียนควรได้รับการฝึกการเรียนรู้แบบโครงงาน จะทำให้การฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน และการทำงานระบบกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มีประโยชน์อย่างมากเนื่องจากมีการวางแผน คิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รู้จักขจัดปัญหาในการทำงานร่วมกัน ฝึกทักษะการทำงานกับผู้อื่น การบริหารจัดการตนเองและทีมงาน เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งในอนาคตการทำงานต่างๆที่ผู้เรียนจะได้พบจะทำให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ได้ เช่น การจัดทำแผนกลยุทธ์
การประเมินการทำโครงงานของผู้เรียน ผู้สอนอาจใช้วิธีการสังเกตทักษะต่างๆ และความรู้ที่ผู้เรียนใช้ในการทำโครงงาน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองและเพื่อน รวมทั้งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะประเมินและเสนอแนะวิธีการประเมิน
การเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน ผู้สอนต้องเสียเวลาในการคิดหาโครงงานให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชานานกว่าเดิม
ขอแสดงความคิดเห็นในส่วนของการเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญว่า เห็นด้วยในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ใช่ตัวอาจารย์เป็นสำคัญ จากประสบการณ์ในการเรียนการสอนของตนเองและเพื่อนที่เป็นอาจารย์ด้วยกัน จะเห็นได้ว่าผู้เรียนชอบการไปเรียนรู้นอกห้องเรียนมากกว่าเหมือนเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่ มากกว่าที่จะเรียนเฉพาะแต่ในห้องเรียนทำให้นักศึกษามีความอยากที่จะมาเรียนหนังสือและไม่เบื่อกับการเรียนที่ต้องเห็นแต่หน้าอาจารย์ กระดานดำ หรือ PowerPoint แต่อย่างเดียว และจากการประเมินผลอาจารย์ในวิชาที่มีการเรียนการสอนแบบให้นักศึกษามีส่วนรวมในทำกิจกรรมหรือเกมส์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผลการประเมินของอาจารย์จะค่อนข้างสูงมาก แสดงว่านักศึกษาไม่ชอบมีแต่การ Lecture ในห้องเรียนเท่านั้น ในส่วนของสื่อการเรียนการสอนแบบ E-Learning ก็เห็นด้วย ผู้เรียนจะได้มีสื่อในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ศึกษาหรือทบทวนย้อนหลังได้ เพราะการเรียนการสอนในห้องเรียนปัจจุบันผู้เรียนไม่ค่อยสนใจเรียนชอบแต่เล่นมือถือในระหว่างการเรียนโดยไม่สนใจการเรียนในห้องเรียน ถ้ามีระบบการเรียนแบบ E-Learning ได้เอามาใช้ได้ทุกวิชาในมหาวิทยาลัยก็จะทำให้นักศึกษาสามารถทบทวนย้อนหลังก่อนสอบได้ ซึ่งสื่อการสอนอาจจะเป็นเสียงอย่างเดียวหรือเป็นแบบมีภาพด้วยก็ยิ่งดี
ได้ใช้หลักการของผู้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้โดยผู้สอน ทำหน้าที่ Focilitator ในการแนะนำและให้การสนับสนุนให้นักศึกษาได้ค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การอธิบายแบบคร่าวๆ ในประเด็นที่ศึกษา และให้นักศึกษาได้ไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพิ่มเติม โดยแหล่งเรียนรู้ คือ หนังสือ/ตำรา หรือการลงพื้นที่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย
สอนโดยยกตัวอย่าง กรณีที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และเชื่อมโยงกับความรู้ที่สอน เช่น ภาพข่าวการเกิดอุบัติเหตุ รถไฟชนคนตาย เพราะคนขับรถกินยาชุดแก้ไข้หวัด ที่มีส่วนผสมของยาลดน้ำมูกและเกิดผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม ในวิชาเภสัชวิทยา ทำให้ต้องโทษติดคุก และเชื่อมโยงไปกับ คุณธรรม จริยธรรม ให้ นศพ อภิปราย ถึงผลกระทบ ไปยังบุคคล สังคม การบริหารองค์กร การป้องกันแก้ไข การให้ความรู้พื้นฐานแก่บุคคลในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้ นศ สนใจ และสามารถจำ เกิดการคิดวิเคราะห์ และตระหนักถึงความสำคัญของความรู้ที่เรียน เห็นภาพในการนำความรู้ไปใช้อย่างชัดเจน
การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ อาจารย์จะพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
มองว่าการเรียนการสอนแบบเดิมที่ผู้สอนยืนอยู่หน้าห้อง แล้วสอนตามสไลด์สรา้งความน่าสนใจให้กับเด็กยุคสมัยนี้ไม่ได้ ดังนั้น การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงสำคัญมาก โดยอาจจัดให้ทำเชิงโปรเจคหรือมีกรณีศึกษาให้นักศึกษาวิเคราะห์ตามความสนใจของตัวเอง ผู้สอนทำหน้าที่ในการไกด์ และให้นักศึกษาร่วมกับประเมินผล
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet