KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

การเรียนการสอนเชิงบูรณาการตามแบบฉบับนวัตกรรมเกษตร

การเรียนการสอนเชิง “บูรณาการ” ตามแบบฉบับนวัตกรรมเกษตร

การปรับเปลี่ยนวิธีการการสอน (Revisory Learning) จากการเรียนการสอนในรูปแบบการบรรยาย (Lecture-Based Learning) เป็นการเรียนการสอนในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะ (Interactive Learning) ประกอบด้วย การเรียนรู้จากปัญหา (Problem-Based Learning) และการเรียนรู้/วิเคราะห์ผลการทดลอง พร้อมเน้นการลงมือปฏิบัติจริง (Project-Based Learning) ซึ่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ผู้เรียนได้ฝึกการนำเสนองานทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม พร้อมมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อเสนอแนะจากผู้สอน และผู้เรียนคนอื่นๆ อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะกับเกษตรกรและชุมชนอีกด้วย

กิจกรรมบูรณาการ เกิดจากผู้เรียนนำความรู้จากทุกรายวิชามาประมวลผลผ่านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและวางแผนจัดการด้านนวัตกรรมเกษตร โดยผู้สอนคอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม ซึ่งการนำความรู้จากทุกรายวิชามาเชื่อมโยงกัน จะมีรายวิชาหลัก (Main Project) และรายวิชารอง (Secondary Project) รวมอย่างน้อย 3 วิชา ผนวกกับข้อมูล/ข้อคิดเห็นของเกษตรกร (Data base) ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น Data Science จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะกับเกษตรกรและชุมชน จึงทำให้เกิด “กิจกรรมบูรณาการ” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวผู้เรียนต้องนำเสนอผลงานบูรณาการในรูปแบบการสัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอน รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะกับเกษตรกรและชุมชนด้วย

กษิดิ์เดช อ่อนศรี (คณะนวัตกรรมเกษตร) เมื่อ 2020-05-18 17:24:23 Like 1

▶️ ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ “แบบบูรณาการ”

สามารถผนวกและเชื่อมโยงความรู้ ????
ที่ผ่านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ ????

จากรายวิชาต่างๆ ได้ดี ????

กษิดิ์เดช อ่อนศรี (คณะนวัตกรรมเกษตร) เมื่อ 2020-05-18 17:32:33 Like 1

ผู้เรียนได้ฝึกฝนกระบวนการทางความคิด/วิเคราะห์/สังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์สำหรับการแก้ไขปัญหาและวางแผนจัดการด้านนวัตกรรมเกษตร ทำให้สามารถแสดงศักยภาพและแลกเปลี่ยนทางด้านความคิดได้อย่างเต็มที่

อรพรรณ หัสรังค์ (คณะนวัตกรรมเกษร) เมื่อ 2020-05-18 17:38:43 Like

ผู้เรียนสามารถนำนวัตกรรมแบบบูรณาการที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจ อีกทั้งนำไปช่วยเหลือเกษตรกร ชุมชนและสังคมได้ด้วย

ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด (คณะเทคโนโลยีชีวภาพ) เมื่อ 2020-05-18 17:41:17 Like

ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเกิดเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เข้าใจและเรียนรู้แบบลึกซึ้ง

สุทัศน์ สุรวานิช (คณะนวัตกรรมเกษร) เมื่อ 2020-05-18 17:43:38 Like

นวัตกรรมเกษตรเป็นเกษตรกรรมยุคใหม่ที่จะมีบทบาทมากขึ้นและถือว่าเป็นเกษตรกรรมของอนาคตอย่างแท้จริง จึงปรับเปลี่ยนวิธีการการสอนให้เป็นรูปแบบ “กิจกรรมบูรณาการ”

ธณพงศ์ มงคลสระ (คณะนวัตกรรมเกษร) เมื่อ 2020-05-18 17:45:23 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet