ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
เทคนิคการเขียนบทความให้ได้ตีพิมพ์ระดับ Q1 Q2
เทคนิคในการทำงานวิจัยและเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ออกสู่สาธารณะโดยเฉพาะในวารสารระดับ Q1 Q2 ผู้วิจัยจึงต้อง
1) เป็นหัวข้อที่ใหม่ในสาขานั้นๆ (Novel and Up-to-date) เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัย ไม่พบการตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน Editor จะพิจารณาจากความใหม่และความน่าสนใจมาเป็นอันดับแรกๆ
2) เลือกหัวข้อที่จะตีพิมพ์ที่มีความน่าสนใจและสามารถทำได้จริง (Feasible) เช่น หากเป็นงานวิจัยที่ทำทางด้านทฤษฎี การสร้างสูตร สมการใหม่ๆ หากเป็นการสร้างแบบจำลองก็ควรมีการทดลองเพื่อยืนยัน พิสูจน์ว่าทฤษฎีที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถทำได้จริง สามารถทำซ้ำได้ด้วยหลักการเดียวกัน เป็นต้น
3) ไม่ผิดหลักทางจริยธรรมการวิจัย (Ethical) หากงานวิจัยนั้นๆ มีความเกี่ยวข้องกับการทดลองในสัตว์หรือในมนุษย์จะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยและต้องระบุไว้ในบทความ และต้องไม่มีการซ้ำซ้อนหรือคัดลอกมาจากบทความวิจัยของคนอื่นและของตนเอง (Plagiarisms and double publications) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ หากมีการตรวจพบการลอกเลียนบทความอาจมีโทษถึงโดนเข้าบัญชีดำ (Blacklist) ข้อควรระวังในการตีพิมพ์อีกอย่างคือ นักวิจัยที่มีประวัติการตีพิมพ์ในวารสาร Q1 Q2 จะทำให้มีบางสำนักพิมพ์ที่ส่งหนังสือเชิญตีพิมพ์ แต่สำนักพิมพ์นั้นอาจอยู่ในรายชื่อ Beall’s list of predatory หมายถึงสำนักพิมพ์หรือวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน และคาดว่าอาจไม่มีอยู่จริง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ open access และต้องเสียค่าตีพิมพ์ หากตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้อาจส่งผลต่ออาจารย์หรือผู้วิจัย อาจไม่สามารถขอตำแหน่งวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไม่สามารถนำมาใช้จบการศึกษาได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบวารสารก่อนการตีพิมพ์ว่าวารสารนั้นจัดอยู่ในสาขาวิชาที่ตรงกับหัวข้อของเราหรือไม่และอยู่ในอันดับไหน ยิ่งตีพิมพ์ในวารสารที่มีควอไทล์สูงๆ ยิ่งเป็นเป็นที่ยอมรับในแง่ของคุณภาพของงานวิจัย และต้องไม่ติดอยู่ในกลุ่มวารสารต้องห้ามหรือ Beall’s list of predatory (https://scholarlyoa.com/publishers/)
โดย ดร.พิชญ์สินี สุวรรณแพทย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
เป็นสิ่งที่ดีครับ และช่วยยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมชีวการแพทย์ด้วยครับ
เป็นกิจกรรมที่ดีแลพมีประโยชน์มากค่ะ ในการยกระดับคุณภาพงานวิจัย
กำละงจะตีพิมพ์พอดี เป็นประโยชน์มากๆครับ
ยอดเยี่ยมมากครับ ขอบคุณสำหรับเทคนิคและข้อปฏิบัติครับ
ได้ทราบแนวทางในการเขียนวิจัยแบบมีคุณภาพ
ขอบคุณครับกำลังหาแนวทางและเทคนิคดีๆเช่นนี้ครับ เป็นประโยชน์มากๆครับ
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet