KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

กระบวนการดำเนินงานที่นำมาจัดการความรู้การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2

1. เตรียมการ (Preparation)

                ผู้เล่าได้ศึกษาเทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2 ของ ผศ.ดร. สิริพร ศุภราทิตย์ และ ได้นำความรู้มาประยุกต์จนได้ตามขั้นตอนดังนี้  

กำหนดหัวข้อตามความชอบ (Passion) ความถนัด (Talent) และ ทุนวิจัย (Research Fund) จากนั้น ผู้เล่าได้กำหนด 1) หัวข้อที่มี Impact; 2) วัตถุประสงค์; 3) วิธีการและกรอบแนวคิดงานวิจัย จากนั้นผู้เล่าเลือกวารสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัย ที่มีคุณภาพและ Citation สูง โดยพิจารณาความยาก และความง่ายของวารสาร จากนั้นผู้เล่าพิจารณาในประเด็นที่ทำให้บทความวิจัยีต่างจากงานเหล่านั้น และน่าสนใจ ซึ่งต้องศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากและนำเสนอแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือการศึกษาแนวทางรูปแบบ Format การเตรียมต้นฉบับ (Manuscript) ซึ่งในปัจจุบันมีสองรูปแบบให้เลือก ได้แก่ รูปแบบ MS-Word แลt Latex ซึ่งทางกองบรรณาธิการของวารสารจะเมีการกำหนดค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์ต่างกัน กล่าวคือ Latex จะมีราคาถูกกกว่า MS-Word  อย่างไรก็ตามการใช้ Latex มีข้อดีที่ผู้เขียนบทความวิจัยมีความสะดวกในการจัดรูปแบบบทความวิจัย แต่ ต้องใช้เวลาในการศึกษาการใช้งานโปรแกรมและรูปบบการสร้างเอกสารโดยใช้ Latex

ในขั้นตอนการ  Submission ผู้เล่าได้เตรียมเอกสารและ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามที่วารสารกำหนด สิ่งสำคัญคือ ไฟล์ในรูปแบบ Camera-Ready ซึ่งเป็นไฟล์ PDF ความตรวจสอบว่าเป็นไฟล์ปัจจุบันซึ่งการกำหนด Version เป็นการป้องความสับสน นอกจากนี้ ไฟล์ DOC หรือ Latex ต้นฉบับ ไฟล์ภาพ ไฟล์ตาราง และ ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง ต้องเตรียมไว้ในขั้นตอนการส่งบทความ ให้เข้าใจอย่างชัดเจน

2. ดำเนินการเขียน (Writing)

ผู้เล่าได้ดำเนินการเขียนบทความวิจัยภายใต้หลักการของ ผศ.ดร. สิริพร ศุภราทิตย์ 

บทความวิจัยนั้นต้องให้องค์ความรู้ใหม่ (Knowledge/Originality) หรือความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Insight) ซึ่งผู้เล่าเน้นประเด็น ความใหม่ (originality) ของบทความวิจัย และ มีประโยชน์ Contribution ในวงการวิชาการ อุตสาหกรรม และการศึกษา 

บทความวิจัยนั้นต้องมีความสมบูรณ์ (Maturity) เพียงพอสำหรับการตีพิมพ์ ผู้เล่าได้วางแผนขั้นตอนงานวิจัยให้เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และจดบันทึกผลการทดลองไว้บางละเอียด ดังนั้น เมื่อเขียนขั้นตอนการเขียนบทความ ผู้เล่าสามารถเลือกสาระสำคัญในการทำวิจัยมาเขียนในบทความวิชาการ ซึ่งทำให้บทความวิจัยมีความสมบูรณ์ 

บทความวิจัยนั้นต้องกระชับ (Concise) อ่านเข้าใจได้ง่าย (Readability) และน่าสนใจ ซึ่งผู้เล่าใช้วิธีการรวบรวมบทความที่มีคุณภาพดี และมีผู้อ้างอิงจำนวนมาก มาเป็นต้นแบบในวิธีการเขียนอธิบาย ในแต่ละส่วนของบทความวิชาการ

บทความวิจัยนั้นต้องมีการอ้างอิง (References) อย่างเหมาะสม โดยเลือกจากบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย เลือกจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ โดยเน้นไปที่บทความวิชาการที่มีผู้อ้างอิงมาก ควรเลือกบทความที่ตีพิมพ์ไม่เกิน 5 ปี และส่วนที่สำคัญที่สุดคือการอ้างอิงที่มีจริยธรรม

เขียนเนื้อหาตามหัวข้อที่กำหนดในแนวทางการเตรียมต้นฉบับ ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย ชื่อเรื่อง (Title) บทคัดย่อ (Abstract) คำสำคัญ (Keywords) บทนำ (Introduction) วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) ผลการวิจัย (Results) การอภิปรายผล (Discussion) บทสรุป (Conclusion) และเอกสารอ้างอิง (References)

ตรวจสอบความถูกต้องให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ไวยากรณ์ (Grammar) บทคัดย่อต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน เนื้อหาระหว่างหัวข้อต้องสอดคล้องกัน ผลการวิจัยตอบสมมติฐานหรือวัตถุประสงค์การวิจัย

3. ส่งต้นฉบับ (Submission)

ผู้ล่าศึกษารายละเอียดการส่งต้นฉบับจากเว็บไซต์ของวารสารและทำการส่งตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนแรกต้องเตรียม จดหมายนำส่ง (Cover Letter) พร้อมต้นฉบับ เพื่อแสดง highlights และประเด็นสำคัญของงานวิจัย นอกเหนือจาก อ.ศิริพร แล้วผู้เล่ายังเพิ่มเติมขั้นตอนการแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาวารสารตามที่กำหนด

4. แก้ไขตามข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ (Revision)

                  ผู้เล่าได้มีโอกาสตอบข้อคิดเห็นให้แก้ไขต้นฉบับในขั้นตอนนี้วารสารยังไม่ตัดสินว่าตอบรับการตีพิมพ์ (Accept) หรือไม่ การตอบข้อคิดเห็นต้องดำเนินการแก้ไขตามข้อคิดเห็นให้ได้ทุกข้อ (ในกรณีที่มีข้อคิดเห็นที่ผู้แต่งไม่เห็นด้วย ควรชี้แจงเหตุผล) และเขียนคำชี้แจงการแก้ไขด้วย ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ส่งคืน หากได้รับการปฏิเสธการตีพิมพ์ (Reject) ควรแก้ไขต้นฉบับตามข้อคิดเห็นที่ผู้แต่งเห็นว่าเป็นประโยชน์และส่งไปวารสารอื่นที่เหมาะสมต่อไป

3.2  ผลการดำเนินงาน/การประเมินผล

ผู้เล่าได้นำความรู้จากการถอดความรู้มาปฏิบัติทำให้นำความรู้ตามขั้นตอนไปปฏิบัติทำให้มีแนวทางการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2 ผลที่ได้คือ

ได้รับการตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Q3 impact factor: 0.449 (Somyanonthanakul, R., & Theeramunkong, T. (2020). Characterization of Interestingness Measures Using Correlation Analysis and Association Rule Mining. IEICE TRANSACTIONS on Information and Systems, 103(4), 779-788.)

ส่งบทความวิชาการ Information Science Q1 impact factor: 5.910 ในขณะนี้รอพิจารณาเพื่อตอบรับ

 

4.  รายงานความรู้/แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่ (new explicit knowledge) จากการประยุกต์ใช้ความรู้เดิมในกระบวนการดำเนินงาน

จากการศึกษาเทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2 ของ ผศ.ดร. สิริพร ศุภราทิตย์ ผู้เล่าได้แนวทางจากการตีพิมพ์ในหัวข้อใหม่ในการตีพิมพ์จนกระทั้งได้ส่งบทความตีพิมพ์ในปัจจุบันนอกจากนี้ ผู้เล่าสามารถแบ่งปันองคความรู้ให้เพื่อนร่วมงานได้มีแนวทางตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2 รวมทั้งใช้ความรู้เพื่อใช้ในแนะนำให้นักศึกษาปริญญาตรีให้ส่งบทความวิชาการได้

ราชศักดิ์ สมยานนทนากุล (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) เมื่อ 2021-04-05 22:49:22 Like 0

ขอบคุณมากค่ะ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตั้งเป้าหมายในการทำวิจัยมากเลยค่ะ

วิไลลักษณ์ ตรีพืช (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) เมื่อ 2021-04-07 15:16:03 Like

ผู้เขียนเรียบเรียงลำดับขั้นตอนการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติระดับ Q1, Q2 ได้ละเอียด ชัดเจน เข้าใจง่ายดีค่ะ

นิศากร จุลรักษา (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) เมื่อ 2021-04-08 11:17:59 Like

ขอชื่นชมและขอบคุณผู้เล่าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ระดับ Q1, Q2 ซึ่งถือเป็นการยอมรับมากที่สุดในวงการวิชาการ อย่างไรก็ตามผู้เล่าสามารถอธิบายขั้นตอนได้ชัดเจน นำไปปฏิบัติต่อได้ ทั้งนี้ ข้าพเจ้าขอร่วมแชร์ความเห็น เพื่อประยุกต์ให้เข้ากับบทความที่เราสนใจจะเขียน นั่นคือ มีการศึกษารูปแบบการเขียนบทความจากวารสารที่ต้องการส่งไปตีพิมพ์ให้เข้าใจและชัดเจน เพราะวารสารต่างๆจะมีข้อกำหนดและรูปแบบในการตีพิมพ์แตกต่างกัน เตรียมต้นฉบับให้ตรงตามข้อกำหนดของวารสาร เขียนเนื้อหาแต่ละส่วนให้ชัดเจน กระชับ หนักแน่น เข้มข้น ที่สำคัญต้องได้ความรู้ใหม่ ทฤษฎีใหม่ หรือความคิดใหม่ ค่ะ

ศิริวรรณ วาสุกรี ผศ. (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) เมื่อ 2021-04-08 15:17:11 Like

เป็นแนวทางที่เชื่อว่าจะช่วยให้สามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ในระดับ Q1 Q2 ได้จริง ขอขอบคุณผู้เล่ามากๆ ครับ

วุฒิพงษ์ ชินศรี (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) เมื่อ 2021-04-18 20:15:57 Like

ขอนำแนวทางไปปฏิบัติด้วยนะคะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ค่ะ

ชุติมา เบี้ยวไข่มุข ดร (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) เมื่อ 2021-04-19 09:00:28 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet