KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

[2556] จากคลังคามรู้ที่ 2 ของเทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัยใครเอาไปใช้แล้วได้ผลอย่างไรบ้าง มา share กันนะครับ

Likit Neeranatpuree เมื่อ 2012-12-15 13:53:21 Like 0

ทำให้เกิดมุมมองต่อรูปแบบในการเผยแพร่งานวิจัยที่ต่างสาขากัน ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดในด้านการบูรณาการช่องทางเผยแพร่งานวิจัย นอกจากนี้ยังการถ่ายทอดปัญหาและอุปสรรคจากผู้ที่มีประสบการณ์ สามารถนำมาใช้เป็นข้อควรระวังในการเผยแพร่งานวิจัยได้ดีมาก ทำให้ไม่ต้องผิดพลาดหรือเสียเวลาในสิ่งที่ไม่จำเป็น"

tadsanee เมื่อ 2012-12-15 13:53:21 Like

ได้รับประโยชน์อย่างมากเกี่ยวกับการทำงานด้านงานวิจัย รับทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่สามารถพบได้ในการทำวิจัย รวมถึงแนวทางการแก้ไข ข้อควรระวัง การชี้แนะในหลากหลายมุมมองจากผู้มีประสบการณ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม

suthantip เมื่อ 2012-12-23 07:11:57 Like

ช่วยขยายองค์ความรู้ด้านการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ให้ชัดเจนมากขึ้น สามารถเติมเต็มในความรู้บางส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ เป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เริ่มทำงานวิจัย รวมถึงผู้ที่ทำอยู่เป็นปัจจุบัน เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรค สามารถที่จะแก้ไข หรือฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ จนประสบความสำเร็จตามความเจตนารมย์ของผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ต้องการให้ประสบการณ์ของตนเองมีประโยชน์ต่อผู้อื่น

kanchana.ch เมื่อ 2012-12-24 11:10:26 Like

ช่วยให้ผู้ทำงานวิจัยและสร้างสรรค์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการทำวิจัย และจากประสบการณ์ตรงของผู้เชี่ยวชาญทำให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนในการเผยแพร่งานวิจัยสู่สาธารณะ ทั้งในรูปแบบการตีพิมพ์ การนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการเผยแพร่สู่ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม/เอกชน

pornkamol เมื่อ 2013-01-09 18:00:43 Like

ได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่หลากหลาย ทำให้เกิดความคิดที่จะต่อยอดได้มากขึ้น

kanchana เมื่อ 2013-01-11 09:02:22 Like

เกิดมุมมองด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยมากขึ้น และได้ความรู้ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยในสาขาต่าง ๆ

jiraporn เมื่อ 2013-01-12 11:11:39 Like

การจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ คงต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อทำเกิดการปฏิบัติได้จริง

sunsiri เมื่อ 2013-01-12 15:21:37 Like

ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติคือ การเลือกหัวข้อที่วารสารนั้นๆสนใจในการตีพิมพ์ มีความสอดคล้องกับชื่อ และวัตถุประสงค์ของวารสาร โดยขั้นแรกนักวิจัยจะต้องค้นหาวารสารที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ www.scimagojr.com โดยแนะนำให้เลือกวารสารในกลุ่ม Q2 ที่สนใจก่อน จากนั้นให้อ่านวัตถุประสงค์ของวารสารนั้นๆ รวมถึงตัวอย่างงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปีล่าสุด แล้วจึงเริ่มต้นเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนแนะนำให้ส่งบทความวิจัยไปยังวารสารมากกว่า 1 แห่ง แต่ท้ายที่สุดเมื่อได้รับการตอบรับการตีพิมพ์จากวารสารใดวารสารหนึ่งแล้ว ให้แจ้งปฏิเสธวารสารอื่นที่เหลือเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการตีพิมพ์ซ้ำ

จอมเดช ตรีเมฆ (วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม) เมื่อ 2020-05-07 15:50:33 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet