ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
การวิจัยที่มีชีวิตชีวา
อาจารย์คิดว่า ใช่Active Research หรือไม่
ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ อย่างนี้แล้วกัน การวิจัยที่มีชีวิตชีวาต้องเป้นการวิจัยที่มีParticipation กับหน่วยวิเคราะห์ หรือ หน่วยตัวอย่าง โดยผู้วิจัยต้องใช้อาศัยการวิเคราะห์พฤติกรรมที่สังเกตได้ จากการแสดงด้วยวาจาและท่าทาง หรือพฤติกรรมอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในระหว่างลงมือจัดกระบวน(treatment) ลงไปในกลุ่มตัวอย่างนั้น และสรุปผลที่ได้ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่าจะเกิด หรือไม่ เพราะเหตุใด โดยนำทฤษฏีที่เกี่ยวข้องมาเป็นเหตุผลในการอธิบาย
การวิจัยที่มีชีวิตชีวาแบบนี้ สนุกทำเพลืน แต่ใช้เวลามากเหมือนกัน
งานวิจัยอย่างนี้ก็สนุกดีครับ โดยเฉพาะหากเป็นทางสังคมสาสตร์จะเรียกว่าเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เราสามารถทำให้งานวิจัยมีอำนาจอธิบายได้มากขึ้น เป็นงานที่มีชีวิตไม่แห้ง แต่ข้อจำกัดที่สำคญคือการเข้าถึงหน่วยวิเคราะห์ ซึ่งบางครั้งมีปัญหาอยุ่บ้างครับ
นักวิจัยมือใหม่ควรที่จะเริ่มจากเป็นผู้ช่วยวิจัยในทีมของผู้มีประสบการณ์ เพื่อจะได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ แล้วจะได้รู้สึกสนุก และมีความสุขในการทำวิจัย และมองว่างานวิจัยไม่น่าเบื่อหรือเปล่าคะ
ถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง. จะต้องสร้างอาชีพ. สร้างรายได้. จากฐานที่เป็นศูนย์ ให้ผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนนั้น จากที่ไม่มีอะไรเลย. นั่นคือผลสำเร็จของการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. ซึ่งสามารถเห็นความแตกต่างก่อน และหลัง. วิจัย ได้อย่างชัดเจน ทำให้ลดปัญหาความยากจนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งชุมชนกลุ่มคนแบบนี้มีจำนวนมาก กระจายอยู่ทุกพื้นที่ ถ้ามหาลัยใช้ความรู้ในหลายๆแขนงยื่นมือเข้าไปช่วยก็จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง แถมยังได้บุญกุศลอีกด้วย
ในมุมของผม การวิจัยจะมีชีวิตชีวาได้ ก็ต้องเริ่มจากผุู้ทำวิจัยนี้เเหละที่ต้องactiveเสียก่อน ถ้าไม่มีกระจิตกระใจทำซะเเล้ว งานวิจัยในลักษณะนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ คงจะจืดชืดเป็นเเกงที่กินไม่ลงเเน่นอนครับ
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet