ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
อยากให้นักวิจัยหันมามองว่า เราจะทำวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและชุมชนกันอย่างไร
งานวิจัยที่เรามักคุ้นเคย อาจไม่ก่อประโยชน์ใดแก่สังคมหรือชุมชนอย่างแท้จริง ทุกวันนี้อย่ากถามว่ามีท่านใด เป็น Action Research ตัวจริง ช่วยแนะนำด้วยคะ อยากไปปรึกษา
วันนี้ได้พบ ท่าน ผศ.ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ท่านเป็นนักวิจัยและพัฒนา ที่สามารถให้ความเข้าใจกับเราได้ดีมากๆๆ เลยคะ Action research แท้จริงเป็นอย่างไร และสำคัญมากขนาดไหน
การทำวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงแก่สังคมและชุมชนนั้น มี 2 ลักษณะดังนี้
1. นักวิจัยควรพัฒนาทักษะการคิดที่เรียกว่า Demind side หรือ Outside In นั่นคือมุมมองของปัญหาที่เกิดจากชุมชน หรือสังคม และให้สังคมและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการ หรือกำหนดโจทย์ที่ต้องการอย่างแท้จริง
2. ในกรณีที่ผลการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ควรมีกระบวนการขยายผล หรือนำผลไปสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง อาจใช้วิธีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน หรือเปิดพื้นที่ของการรับรู้เพื่อการนำผลการวิจัยไปขยายผลและใช้ต่ออย่าง เป็นรูปธรรม
การทำวิจัยและพัฒนา ตามที่ท่านอาจารย์ จอย แสดงความคิดเห็นมานั้น อ.นิ่มคิดว่า เป็นหลักการและแนวทางที่ใช่มาก ๆ เลยคะ แต่พอลงมือทำแล้ว เห็นว่า การวิจัยพัฒนาที่แท้จริง แยกเป็น 2 ส่วน คือ 1. งานส่งเสริม 2. งานวิจัย (การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนงานวิจัยและนำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป
เมื่อลงพื้นที่ทีไร เป็นต้อง " งง " กันทุกที เพราะสิ่งการResponse ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งคือชาวบ้าน และกระบวนการที่เราเตรียมไป ต้องมีเหตุให้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์จริงๆ อาจกล่าวได้ว่าต้องใช้ทฤษฏีไร้ระเบียบเข้ามาจับทุกทีไป
การทำวิจัยพัฒนา ที่ต้องการสัมฤทธิ์ผลกับกลุ่มเป้าหมายจริง ยากมาก ส่วนใหญ้่ผลการวิจัยมักเป็นเชิงนโยบาย การใช้วิธีวิจัยแบบ Participatory Actiion Reseach สำหรับตนเองคิดต้องเรียนรู้อีกมาก และเป็นการวิจัยที่มีเสน่ห์มากคะ หมายถึง ชักจะชอบทำแล้ว
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet