ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
[2556] อาจารย์ท่านใดเคยนำเอาเทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากในคู่มือชุดประสบการณ์ฯ ไปใช้บ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร ช่วยมาเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ
อาจารย์ท่านใดเคยนำเอาเทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากในคู่มือชุดประสบการณ์ฯ ไปใช้บ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร ช่วยมาเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ
เคยจัดเวทีชาวบ้าน และนำผลการวิจัยไปบอกเล่าให้คนในพื้นที่ที่เราเข้าไปทำงาน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่รู้สึกประทับใจมาก พวกเขาแสดงออกอย่างชัดเจนว่ารู้สึกขอบคุณที่พวกเราเข้าไปช่วยเขาแก้ปัญหา มันเป็นความผูกพันกันที่มากกว่าทีมนักวิจัยกับชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ แต่เราอยู่กับพวกเขาเหมือนพี่น้อง เหมือนญาติสนิท เมื่องานเราเสร็จเราก็ไปบอกพวกเขาว่าเราได้ข้อสรุปอะไร และเป็นวิถีทางที่จะช่วยพวกเขาให้แก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งเมื่อไปติดตามในภายหลังอีกครั้งก็พบว่า เขาแก้ปัญหานั้นได้จริงๆ โดยส่วนตัวจึงคิดว่า การเผยแพร่ผลงานในรูปแบบนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคม ดีกว่าเรามาพิมพ์เป็นรูปเล่มเพียงอย่างเดียว
ในการทำงานวิจัยผู้วิจัยควรให้ความสำคัญกับการอ้างอิงข้อมูลและระวังกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือผลงานวิชาการของผู้อื่น
หน่วยงานด้านการส่งเสริมการทำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ควรร่วมมือกันในการจัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลงานวิจัยรวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งอาจารย์ของเราหลายๆท่าน อยากมีโอกาสไปนำเสนอผลงานที่ต่างประเทศ แต่ติดปัญหาด้านการทำบทความวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ
เท่าที่พิจารณา "ชุดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์" คร่าวๆ ต้องยอมรับว่าเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย กับผู้ที่ยังไม่มีหลักหรือแนวทางการในเขียนและเผยแพร่ผลงานของตนเอง ทว่า อยากขอแลกเปลี่ยนสักเล็กน้อยครับ ในฐานะที่ได้รับการฝึกมาอีกแนวทางหนึ่ง สำหรับผม การทำงานประเภทนี้ น่าที่จะมีปัจจัยสำคัญอยู่สัก 3-4 ปัจจัย ที่มหาวิทยาลัยมีส่วนสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่างมาก ได้แก่ 1) บรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน ภาระงานสอนที่ไม่หนักเกินไป สิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วารสาร หรือฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายและกว้างขวาง 2) แรงจูงใจในการทำงาน อาจารย์อาจต้องได้รับการกระตุ้นให้มีแรงจูงใจในการทำงานพวกนี้ รู้ว่าทำไปแล้วจะได้อะไรตอบแทน (เช่น นำไปคิดโหลดงานได้) ไม่ใช่แค่เงื่อนไขของเงินรางวัล ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไม่ได้มากมายอะไรนักเมื่อเทียบกับค่าสอน ที่ทำให้หลายท่านสนใจการสอนซึ่งเป็นงานประจำมากกว่า เพราะไม่ต้องออกแรงเพิ่ม 3) ทัศนคติที่เป็นบวกกับการทำผลงาน โดยเฉพาะงานวิจัย ที่ต้องถูกสร้างให้เป็นมิตรต่อกัน ไม่เห็นว่างานวิจัยเป็นเรื่องใหญ่โต เข้าถึงได้ยาก การจัดสัมมนาเรื่องการทำผลงาน จึงต้องอาศัยผู้ที่มีมุมมองที่สนับสนุนให้มือใหม่ไม่กลัวการทำวิจัย กล้าที่จะทำ และไม่กังวลกับความผิดพลาดจนเกินไป 4) การสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน ซึงต้องยอมรับว่าปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากที่สุด เกี่ยวกับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ม้จะไม่มีการจำกัดจำนวน แต่กับการนำเสนอบทความในการประชุมระดับนานาชาติ ยังถูกจำกัดให้ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง อย่างยิ่งกับวารสารระดับชาติ ที่จะเอื้อให้นักวิจัยมือใหม่ก้าวเข้าสู่พื้นที่เหล่านี้มากยิ่งขึ้น กลับไม่ได้รับการสนับสนุน แม้ในเชิงนโยบายแต่อย่างใด ขออนุญาตแลกเปลี่ยนแต่เพียงเท่านี้ ในฐานะนักวิจัยมือใหม่ที่ยังมีไฟในการทำงาน หวังว่ามหาวิทยาลัยจะสร้างเสริมเงื่อนไข อย่างน้อยที่สุด 4 เงื่อนไขนี้ เพื่อเอื้อให้เกิดการทำและเผยแพร่ผลงานมากยิ่งขึ้นต่อไปครับ
การคัดเลือกวารสารให้เหมาะสมกับเนื้อหาของงานวิจัยที่เราจะตีพิมพ์ ควรทำการศึกษาบทความวิจัยจากวารสารที่เราจะเลือกตีพิมพ์ก่อน ซึ่งช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเขียนบทความวิจัย ได้ตรงตามขอบเขต และแนวทางของวารสารนั้นๆ โดยอาจจะมีการอ้างอิงบทความวิจัยที่เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนั้นๆ ด้วย ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะช่วยให้มีโอกาสได้รับการตอบให้ตีพิมพ์บทความวิจัยของเราสูงขึ้น
สามารถท าในรูปแบบใดบ้าง การเผยแพร่ตามสากลนิยมสามารถท าได้สองรูปแบบ ซึ่งมีจุดประสงค์ และระดับความยากและง่ายจะแตกต่างกัน 1. การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (conference) ซึ่งมักเป็นการน า ผลงานวิจัยที่เพิ่งท าเสร็จมาเขียนเป็นบทความแล้วส่งให้บรรณาธิการของที่ประชุมวิชาการพิจารณา หลังจาก นั้นจึงมีการส่งผลต่อผ่านขั้นตอนพิชญพิจารณ์ เพื่อการประเมินคุณค่าและความถูกต้อง เมื่ออนุมัติผ่าน บทความก็จะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (proceedings) ซึ่งในการประชุม ผู้วิจัยจะต้องมีหน้าที่น าเสนอบทความของตนเอง โดยการน าเสนออาจจะอยู่ในรูปโปสเตอร์หรือแบบปากเปล่า ข้อดีของการเผยแพร่ในรูปแบบนี้ก็คือผลงานวิจัยจะได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็วรวดเร็ว ปัจจุบันมีเวที ลักษณะนี้จ านวนมาก โอกาสในการน าเสนอจึงมีมากนอกจากนี้ที่ประชุมวิชาการยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับบรรดานักวิจัยท่านอื่น จึงมีประโยชน์มากส าหรับการส่งบทความที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ออกไป ชิมลาง เพื่อน าผลตอบรับกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้นส าหรับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ประโยชน์ที่ ส าคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสร้างชื่อเสียงให้นักวิจัยอื่นรู้จักและสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง เนื่องจากจ านวนการจัดประชุมวิชาการซึ่ง เพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้คุณภาพในภาพรวมตกต่ าลงไปด้วย งานประชุมวิชาการหลายแห่ง เป็นธุรกิจที่จัดขึ้นเพียงหวังผลก าไร หรือเป็นเพียงการจัดเพื่อให้บรรดาผู้จัดงานและครอบครัวได้ไปเที่ยวฟรี หลายมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดประชุมตามกระแสนิยม ท าให้ขาดคุณภาพในแง่การประเมินบทความวิชาการ และขาดความเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้อย่างจริงจัง อาทิ กลุ่มบุคคล สมาคมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยที่จัด ตลอดจนสาขาที่ประชุมวิชาการแต่ละแห่ง ควรเลือกที่มีความเกี่ยวข้องหรือความเชี่ยวชาญตรงกับงานของ นักวิจัย 2. การเผยแพร่งานวารสารวิชาการ ช่องทางการเผยแพร่ในรูปแบบนี้จัดได้ว่าเป็นทางการและได้รับ การยอมรับมากที่สุดในวงการวิชาการโดยทั่วไป ส าหรับขั้นตอนที่เป็นทางการเพื่อเผยแพร่ก็จะเริ่มจากการส่ง ต้นฉบับของบทความพร้อมทั้งจดหมายน า (Coverletter) ถึงบรรณาธิการเพื่อเกริ่นน าการค้นพบหรือ ความส าคัญของงาน ปัจจุบันวารสารหลายฉบับได้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองและผู้เขียนสามารถลงทะเบียนเข้า เป็นผู้ใช้งานและท าการส่งเอกสารต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ รวมไปถึงการติดตามผลทางออนไลน์ได้เลย โดยไม่ จ าเป็นต้องส่งทางไปรษณีย์เหมือนในอดีต ส าหรับผลของการพิจารณาจะเป็นไปได้ 3 กรณี ดังนี้ การตอบรับให้ตีพิมพ์ (accept) การส่งกลับมาแก้ไข (revise) และการปฏิเสธ (reject)
จากประสบการณ์เผยแพร่งานวิจัย ขั้นตอนสำคัญๆที่ต้องคำนึงถึงคือ การเลือกวารสารที่มี scope งาน ตรงกับงานวิจัยที่เราจะส่ง เพราะหากไม่ตรงกับ scope ของวารสารเหล่านั้น งานของเราจะถูก reject ตั้งแต่ขั้นต้นๆ แนวทางการเขียนบทความวิจัยคือ เราต้องมีจุดขายในแต่ละงาน คือ จะต้องดึงจุดเด่นของบทความวิจัยออกมาให้ได้มากที่สุด ไม่จำเป็นว่างานนั้นๆจะต้องสำเร็จหรือให้ผลในทางบวก ผลบางอย่างอาจ fail แต่การอธิบายตามหลักการและเหตุผล พร้อมหาเหตุผลอ้างอิง ก็ถือว่างานนั้นมีคุณค่าในตัวของมัน ในปัจจุบันมีหลายวารสารที่มีแนวโน้มเป็น open access มากขึ้น (ยกตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูล Sciencedirect) การหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย จะมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งนักวิจัยควรเตรียมงบประมาณในการเผยแพร่ผลงานในส่วนนี้ไว้ด้วย
ใช้งานวิจัย (Project) ของรุ่นพี่ ที่ได้เสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับประเทศ (วทท) และนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและการทดลองให้กับนักศึกษารุ่นต่อๆ ไป ซึ่งนักศึกษาสามารถทำการทดลองได้อย่างเข้าใจ สนุกสนาน ได้พัฒนาความคิดในการทำงานวิจัย สามารถมองงานวิจัยและคิดโครงงานวิจัยได้ด้วยตนเองค่ะ
ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยซึ่งต้องผ่านการตรวจงานจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในเรื่องนี้มีประสบการณ์ตรงและก่อให้เกิดการเรียนรู้อีกทั้งยังเป็นความประทับใจของผู้วิจัยก็คือ การที่สถาบันวิจัยได้หาผู้อ่านที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ และมีความตั้งใจอย่างสูงที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับผลงานวิจัย ทำให้ผู้วิจัยสามารถแก้ไขงานวิจัยอย่างถูกทาง และเมื่อภายหลังได้มีโอกาสจากสถาบันวิจัยให้อ่านงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการประจำปี ก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการอ่านและให้ความเห็นอย่างเต็มที่ ความเอื้อเฟื้อเช่นนี้ก่อให้เกิดกัลยาณมิตรในวงวิชาการซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการของการวิจัย
ฉัตรวรัญ องคสิงห์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติคือ การเลือกหัวข้อที่วารสารนั้นๆสนใจในการตีพิมพ์ มีความสอดคล้องกับชื่อ และวัตถุประสงค์ของวารสาร โดยขั้นแรกนักวิจัยจะต้องค้นหาวารสารที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ www.scimagojr.com โดยแนะนำให้เลือกวารสารในกลุ่ม Q2 ที่สนใจก่อน จากนั้นให้อ่านวัตถุประสงค์ของวารสารนั้นๆ รวมถึงตัวอย่างงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปีล่าสุด แล้วจึงเริ่มต้นเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนแนะนำให้ส่งบทความวิจัยไปยังวารสารมากกว่า 1 แห่ง แต่ท้ายที่สุดเมื่อได้รับการตอบรับการตีพิมพ์จากวารสารใดวารสารหนึ่งแล้ว ให้แจ้งปฏิเสธวารสารอื่นที่เหลือเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการตีพิมพ์ซ้ำ
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet