KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

เทคนิคการสอนนักศึกษาที่อ่อน

นักศึกษาที่อ่อน ไม่สนใจเรียน และเข้าห้องเรียนไม่สม่ำเสมอ ลอกการบ้านส่งครู ใครมีเทคนิคการสอนอย่างไรที่จะทำให้เค้าสนใจในวิชาที่เค้าไม่ชอบเรียน และมีความเข้าใจจนสามารถสอบผ่านได้ ช่วยแนะนำหน่อยคะ

วันฤดี สุขสงวน ผศ. (คณะบัญชี) เมื่อ 2015-06-20 13:44:16 Like 0

เทคนิคการสอนนักศึกษาที่อ่อนที่ทำแล้วได้ผลมีดังนี้ 

1. เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน และให้ผู้เรียนมองเห็นข้อมูลของตนเองทุกคาบวิชา

2. จัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันโดยให้นักศึกษาที่อ่อนได้มีโอกาสได้คะแนนเก็บ

3. เลือกนักศึกษาที่อ่อนเป็นผู้นำเสนอผลการเรียนรู้ร่วมกันหน้าชั้นเรียน

4. ขอร้อง "ห้ามการลอกงาน" และให้โอกาสหากนักศึกษาที่อ่อนประสบปัญหาในด้านต่างๆ

5. เปิดโอกาสเวลาที่จะให้เข้าพบเพื่อสร้างความไว้วางใจ อันสามารถนำมาซึ่งการดูแลและให้ความช่วยเหลือ

    ทางวิชาการต่อไป

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา ดร. (วิทยาลัยนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2015-06-23 16:32:46 Like 1

1. สร้างสัมพันธภาพกับนักศึกษา เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

2. ถามถึงวิธีการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่ได้คะแนนดี 

3. ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาค้นหาเป้าหมายในชีวิต

4. วางกฎ กติกา การเรียนร่วมกัน หากไม่ปฏิบัติตามจะมีมาตรการลงโทษที่ชัดเจน จากตักเตือนจนถึงไม่มีสิทธิ์สอบ แล้วให้โอกาสนักศึกษาในการปรับตัว

5. ให้เวลานอก ในการเป็นที่ปรึกษาด้านการเรียนมากกว่า นักศึกษาคนอื่นๆ 

  ซึ่งที่ผ่านมาเคยทำตามนี้แล้วประสบความสำเร็จค่ะ

วิลาวัลย์ อุดมการเกษตร (คณะพยาบาลศาสตร์) เมื่อ 2015-07-23 14:57:50 Like 1

เทคนิคการสอนนักศึกษาที่อ่อน

1. ศึกษาแฟ้มประวัติส่วนตัวและผลการเรียนของนักศึกษา เพื่อจะได้รู้จักนักศึกษาและเข้าใจปัญหามากขึ้น

2. สร้างสัมพันธภาพกับนักศึกษาเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

3. พูดคุยกับนักศึกษา ให้นักศึกษาสะท้อนคิดจุดเด่น จุดด้อยของตัวเอง และอาจารย์สะท้อนกลับ

4. ทำสัญญาการเรียนร่วมกันกับนักศึกษาเรื่องการพัฒนาการเรียนและด้านพฤติกรรม ควรมีบันทึกไว้

5. อาจารย์ผู้สอนติดตามความก้าวหน้าการเรียนของนักศึกษาเป็นระยะๆ ที่สำคัญคือ อาจารย์ให้เวลา

กับนักศึกษาได้รู้จักตัวเอง เห็นจุดดี อาจารย์ต้องส่งเสริม เห็นจุดด้อยอาจารย์ต้องชี้ให้เห็นว่าจุดด้อยของเขาจะ

ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างไร

อัชฌาณัฐ วังโสม (คณะพยาบาลศาสตร์) เมื่อ 2015-08-21 11:10:47 Like 1

1. ทดสอบความรู้พื้นฐานของนักศึกษาในขั้นเรียน และแยกระดับความรู้และทักษะของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม คือ อ่อน ปานกลาง และเก่ง่

2. วางแผนร่วมกันกับนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลที่นักศึกษามีความรู้และทักษะแตกต่างกัน

3. ประเมินผลร่วมกันเป็นระยะ คือ กลางภาค และปลายภาค

ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ (วิทยาลัยนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2018-05-14 09:32:54 Like

หากนักศึกษามีปัญหาเรื่องการเรียน เทคนิคที่เคยใช้คือ

การคุยและสอบถามเจ้าตัวว่าเกิดอะไรขึ้น รวมทั้งหาข้อมูลจากเพื่อนๆ ประกอบ จากนั้น พูดคุยและวางแผนร่วมกับนักศึกษาคนนั้นในการเรียน ว่าปัญหาที่แท้จริงเกิดจากอะไร เขามีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้าง ประเมินผลจากแนวทางนั้นร่วมกัน จากนั้นให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่านักศึกษาจะมีระบบคิดและตัดสินใจได้ เชื่อว่าทุกคนอยากเป็นคนดีและเก่งเสมอค่ะ

วิภาพร ขจรวงศ์วัฒนา (คณะเภสัชศาสตร์) เมื่อ 2018-05-18 14:13:58 Like

บอกนักศึกษาว่า ไม่มีใครสามารถทำสิ่งที่ชอบได้ตลอดเวลา ในชีวิตนี้เราทุกคนต้องเจอทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ หากนักศึกษาไม่ชอบเรียนวิชานี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ก็ขอให้อดทนและตั้งใจเรียนให้ผ่านไปให้ได้เพื่อจะได้ทรมานในช่วงเวลาสั้น ๆ เรียนเทอมเดียวเท่านั้น ไม่ต้องสอบตกและมาเรียนซ้ำอีก โดยขอให้เรา (นักศึกษาและอาจารย์) มาร่วมมือกัน ทำให้เทอมนี้เป็นเทอมสุดท้ายที่ต้องเรียนวิชานี้ จากนั้นนักศึกษาจะได้ไปทำหรือเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบ

กาญจนา ชีวาสุขถาวร (สถาบันภาษาอังกฤษ) เมื่อ 2018-05-18 16:36:36 Like

วิธีการของทุกท่านเป็นวิธีการที่ดีมาก ๆ คะ  ในส่วนตัวขอเสริมวิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือรุ่นพี่ช่วยรุ่นน้อง คือให้เพื่อนหรือรุ่นพี่ที่เรียนดี ช่วยอธิบายเพิ่มเติมหรือช่วยติวให้กับเพื่อนหรือรุ่นน้องที่เรียนอ่อน ก็จะจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งช่วยทำให้เพื่อนที่เรียนอ่อนมีผลการเรียนดีขึ้นได้ 

มัติกร บุญคง (คณะนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2019-06-25 01:18:06 Like

นศ.บางคน มีปัญหาส่วนตัวครับ ต้องค่อยๆ ถาม อย่าดุ เมื่อเด็กไว้ใจ เด็กจะเล่าปัญหาส่วนตัวให้ฟัง ต้องช่วยแก้ปัญหาให้เด็ก อย่าบังคับนะครับ แล้วค่อยๆ สอนเขาเป็นพิเศษ ปูพื้นให้ใหม่ อาจช้าไปบ้าง แต่เด็กจะค่อยๆดีขึ้นเองในระยะยาวครับ

จักราวุธ พานิชโยทัย (คณะรังสีเทคนิค) เมื่อ 2020-05-05 13:20:56 Like

เมตตาค่ะ เริ่มจากต้องมีเมตตาต่อผู้เรียนก่อนเป็นอันดับแรก
สังเกตุพฤติกรรม และไลฟ์สไตล์ของเขา เพื่อทำความเข้าใจผู้เรียน แล้วออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ปรับวิธีการสอนที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงพลังในตนเอง เมื่อผู้สอนเอาใจใส่ ผู้เรียนจะรับรู้ได้ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า จะเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

นุจรีย์ โลหะการ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) เมื่อ 2020-05-26 02:07:45 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet