KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

ปฏิบัติการเชิงปัญญา (Intellectual practice)

ผมมีความเชื่อที่ว่า "ปัญญาคามรู้เกิดได้จากการฝึกปฎิบัติ" จึงปรับรูปแบบ วิธีการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาแสวงหาความรู้อย่างแท้จริงก่อนการสร้างงานสรรค์งาน โดยทดลองให้นักศึกษาที่เรียนในรายวิชา 2D ANimation for Multimedia ออกแบบ Character ตัวละครรามเกียรติ์ให้ร่วมสมัย โดยพานักศึกษาไปดูการแสดงโขนของกรมศิลปากร เป็นการนำเอาภูมิปัญญาไทยในอดีตมาบูรณาการการเรียนการสอนในรูปแบบ “ปฏิบัติการเชิงปัญญา” (Intellectual practice) โดยเน้นการรับรู้ด้วยการผัสสะจากสถานการณ์จริงแล้วปฏิบัติการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบให้มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยร่วมสมัย นักศึกษามีความสุขต่อการเรียนรู้ และสร้างจินตนาการที่ดี ประเมินจากผลงาน

สำราญ แสงเดือนฉาย (มัลติมีเดีย) เมื่อ 2015-06-23 17:17:37 Like 0

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ  ในรายวิชา การออกแบบมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบ ทางสาขาฯก็ได้นำ นศ. ไปทัศนศึกษาที่ อาคารนิทรรศรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย โดยนักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียโต้ตอบในการนำเสนอและจัดแสดงข้อมูลของทางพิพิธภัณฑ์ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ และได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานออกแบบด้านมัลติมีเดียโต้ตอบอย่างมีคุณค่า

สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ

ชินภัศร์ กันตะบุตร (ออกแบบนิเทศศิลป์) เมื่อ 2015-06-24 15:08:30 Like

เห็นด้วยค่ะว่าการเรียนการสอนต้องมีการฝึกปฎิบัติจริงเพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองทำ 

ชัชญา สกุณา (วิทยาลัยนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2018-05-14 09:48:48 Like

เห็นด้วยคะ  เพราะการที่นักศึกษาลงมือปฏิบัติจะสามารถสร้างทักษะในการเรียนรู้ของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้หากนักศึกษาได้มีโอกาสได้สัมผัส หรือดูงานทางด้านศิลปะอย่างหลากหลายก็จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้ดีขึ้น

มัติกร บุญคง (คณะนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2019-06-25 01:05:49 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet