KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

การบูรณาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับการบริการวิชาการร่วมกับชุมชนและสังคม

 โดยนับจากปี พ.ศ.2555 ถึงปัจจุบันคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มอบหมายนโยบายให้อาจารย์หัวหน้ารายวิชาที่พร้อมจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับงานบริการวิชาการให้เป็นบรรยากาศในการเรียนรู้บนพื้นที่เดียวกัน จึงได้เริ่มจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิศวกรรมการบำรุงรักษาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ (ฺBME353) โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้เน้นการฝึกภาคปฏิบัติจริงเพราะการที่นักศึกษาในยุกต์ปัจจุบันจะเข้าใจและมีทักษะที่ดีในการปฏิบัติงานวิศวกรรมบำรุงรักษาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ที่ดีต้องผ่านกระบวนการของอุปสรรค์และการแก้ปัญหาจากการลงมือทำจริงซึ่งเพียงแค่บรรยากาศกับเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในคณะฯก็ไม่สามารถที่จะขยายขอบเขตของปัญหาและชนิดเครื่องมือได้อย่างครอบคลุมต่อการออกไปประกอบวิชาชีพในวันข้างหน้าเท่าที่ควร ในรายวิชานี้จึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้ออกเป็นสองส่วนคือส่วนของทฤษฏีและหลักการที่จำเป็นต้องนำไปปฏิบัติตามมาตตรฐานวิชาชีพในระดับสากลในระยะเวลาสั้นๆเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการในภาพรวมและนำไปพิสูจน์กับประสบการจริง โดยการลงปฏิบัติการและบริการวิชาการจริงยังสถานประกอบการโดยเน้น สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในเครือข่ายจำนวน 5 แห่งที่สนใจและมีความพร้อมที่มีเป้าหมายเดียวกันคือเครื่องมือแพทย์ที่ใช้งานกับผู้ป่วยมีการบำรุงรักษาที่ถูกต้องและมีความปลอดภัยในการใช้งานซึ่งจากจำนวนสถานที่จัดการเรียนการสอนและให้บริการวิชาการจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่อยากให้นักศึกษาได้สัมผัสและเห็นความต่างของกลุ่มเครื่องมือแพทย์และระดับของการวางแผนในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่  โดยในทุกๆครั้งที่นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงทางหัวหน้ารายวิชาจะจัดอาจารย์จำนวน 4 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านลงพื้นที่ไปพร้อมกับนักศึกษาเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำระหว่างการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์ครบทุกกลุ่มทำให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจและมีความกล้าที่จะแสดงออกและเกิดทักษะการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและจุดตรงนี้ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากปฏิบัติย้อนกลับมาหาทฤษฏีได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องใช้การท่องจำจากตำรา ซึ่งเสียงสะท้อนจากสถานพยาบาลหรือแหล่งฝึกปฏิบัติงานและการบริการวิชาการตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าทางผู้รับบริการให้การยอมรับถึงคุณภาพในความสามารถและทักษะฝีมือของนักศึกษาและเกิดความไว้วางใจในคุณภาพและทักษะฝีมือของนักศึกษาจนกลายเป็นจุดแข็งของรายวิชานี้ ซึ่งในแต่ละปีสถานพยาบาลตามที่กล่าวมาในข้างต้นจะมีการจัดซื้อคุรุภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาให้บริการส่งผลให้นักศึกษาที่หมุนเวียนเข้าไปเรียนรู้ภาคปฏิบัติและให้บริการวิชาการได้เรียนรู้เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้นและคณาจารย์ที่ออกไปก็จะได้รับโจทย์ปัญหาในการร่วมพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องเกิดเป็นสังคมเครือข่ายด้านวิชาการ ด้านบริการวิชาการ และด้านการมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคมไปโดยอัตโนมัติ และในรายวิชานี้ก็จะแสวงหาเครือข่ายสถานประกอบการเพื่อขยายฐานการเรียนและให้บริการวิชาการให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาในอนาคตต่อไป

อนันตศักดิ์ วงศ์กำแหง (คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์) เมื่อ 2018-01-22 17:16:03 Like 2

เห้นด้วยกับการจัดการเรียนการสอนกับจัดงานบริการวิชาการบูรณาการเข้าด้วยกัน ได้ประโยชน์กับนักศึกษาโดยนักศึกษาได้ประสบการณ์จริงและยังได้ทำประโยชน์ให้กับชุมชน และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยในการบิการวิชาการแก่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ปรียา อนุพงษ์องอาจ ผศ. (คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์) เมื่อ 2018-01-22 18:41:25 Like 1

          การบูรณาการบริการวิชาการร่วมกับการเรียนการสอน ส่งผลให้นักศึกษามีสมรรถนะทางวิชาการดีขึ้น พัฒนาการคิดวิเคราะห์ พัฒนาทักษะ การมีปฏิสัมพันธ์ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  ระบบจะดีขึันจะต้องระมีการเก็บข้อมูล เติมเต็มด้วยการสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดสิ่งที่ดี ๆ ตามมาอีกมากมาย 

เสมา สอนประสม ผศ. (คณะวิทยาศาสตร์) เมื่อ 2018-01-23 08:42:41 Like 1

เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ดีมากเลยครับ นักศึกษาสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และยังได้ช่วยเหลือชุมชนอีกด้วย

อนุชิต นิรภัย (คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์) เมื่อ 2018-01-23 12:39:44 Like 1

เป็นวิธีที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีสู่ปฏิบัติ และนำปฏิบัติเชื่อมโยงทฏษฏีอย่างเป็นรูปธรรม วิธีนี้สามารถวัดและประเมินผลได้หลายมิติ ทั้งศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้ รวมถึงศิลปการทำงานเป็นทีม การปรับตัวในการทำงานเป็นหมํคณะ การเชื่อมโยงระหว่างห้องเรียนและโลกความเป็นจริง 

รัชนี เสาร์สุวรรณ์ (คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์) เมื่อ 2018-01-23 12:52:31 Like 1

เป็นวิธีการเรียนการสอนแบบเรียนรู้คู่ปฎิบัติ ซึ่งเป็นการบูรณาการทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะปฏิบัติ อีกทั้งยังบูรณาการด้านจิตอาสา การส่งเสริมให้นักศึกษามีความกล้าแสดงออก และกระตุ้นให้มีการเรียนรู้จากประสบการจริง และรู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้มีประโยชน์์โดยตรงต่อนักศึกษา อีกทั้งการเรียนในเชิงปฏิบัตินอนกสถานที่แบบนี้ เป็นการจำลองภาพการทำงาน ให้นักศึกษามีมุมมองที่ชัดเจนขึ้นในสาขาวิชาชีพ

ศนิ บุญญกุล (คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์) เมื่อ 2018-03-21 13:32:24 Like

เห็นด้วยคะ การบูรณาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับการบริการวิชาการร่วมกับชุมชนและสังคม เป็นกระบวนเรียนรู้ที่ดีและเหมาะแก่การเสริมสร้างและพัฒนานักศึกษาทั้งทางด้านความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และที่สำคัญเป็นการพัฒนาจิตใจให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม คะ 

พชรอร แก้วเจริญ (คณะนวัตกรรมเกษร) เมื่อ 2018-05-13 15:02:23 Like

โดยประสบการณ์จะใช้รายวิชาสัมมนาเป็นพื้นที่และจุดเริ่มต้นของการให้บริการทางวิชาการ โดยให้ผู้เรียนค้นหาประเด็นปัญหาต่างๆ ของวิชาชีพ หรือสังคม หลังจากนั้นให้ค้นคว้าหาคำตอบต่อประเด็นปัญหาต่างๆ แล้วมีการนำเสนอประเด็นเหล่านั้นต่อสาธารณะซึ่งสามารถสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นได้หลายระดับ อาทิ เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือการนำความรู้ไปขยายผลหรือต่อยอดในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป 

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา ดร. (วิทยาลัยนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2018-05-16 22:46:27 Like

การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการสู่สังคมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและสำคัญมากของการก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม และการสร้างเครือข่ายทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนค่ะ

 

ปาริษา มูสิกะคามะ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) เมื่อ 2018-05-18 12:37:30 Like

ขอสนับสนุนแนวทางดังกล่าวค่ะ เพราะผู้เรียนจะเห็นคุณค่าของตนเองว่าเค้าสามารถนำวิชาชีพมารับใช้สังคมได้ อีกทั้งยังเป็นการตอบโจทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตที่บอกว่าเป็น "มหาวิทยาลัยแห่งการให้และแบ่งปัน" ด้วยนะคะ

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา ดร. (คณะนิเทศศาสตร์) เมื่อ 2019-06-23 15:42:43 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet