ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
ควรมีแบบการประเมินผลนักศึกษาเป็นรายบุคคลหรือไม่
จากประสบการณ์การสอนที่ผ่านมาพบว่า วิชาปฏิบัติ นักศึกษาแต่ละคนจะมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่แตกต่่างกัน แต่แบบประเมินผลที่ใช้มักจะเป็นแบบประเมินผลกลาง คือ ใช้ประเมินทุกคน เมื่อมีคำถามว่า "หนูตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลงานยังไม่ถูกใจผู้ประเมินหนูควรทำอย่างไรคะ ส่วนงานที่หนูทำได้ดีกลับไม่มีการประเมินผล"
"หนูตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลงานยังไม่ถูกใจผู้ประเมินหนูควรทำอย่างไรคะ ส่วนงานที่หนูทำได้ดีกลับไม่มีการประเมินผล" จากประโยคนี้ผมสงสัยว่าตัว นักศึกษาเค้ารับทราบจุดประสงค์ของการประผลในรายวิชาแล้วหรือยัง การที่นักศึกษาไม่ได้รับการประเมินผลในส่วนที่ทำได้ดีเนื่องในส่วนที่นักศึกษาทำได้ดีนั้นอาจจะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานที่ได้รับครับ
คิดว่าควรมีนะคะ แต่อาจจะต้องมีการปรับแบบประเมินผลกลาง ให้เป็นข้อคำถามที่เป็นกลางมีลักษณะที่สามารถวัดได้กับทุกคน หรือมีลักษณะที่ให้นักศึกษาได้อธิบายกระบวนการทำงานในส่วนของตนเอง และความรู้หรือทักษะที่ได้จากการปฏิบัติงานในส่วนที่ตนเองทำเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
ควรแจ้งเกณฑ์การประเมินให้ผู้เรียนได้ทราบ
อาจใช้วิธีให้ผู้เรียนประเมินตนเอง + เพื่อนประเมิน + ผู้สอนเป็นผู้ประเมิน
โดยตั้งค่าถ่วงน้ำหนักไม่เท่ากัน
ถ้ากลุ่มที่สอนจำนวนนศ.ไม่มาก ถือว่าการประเมินรายบุคคลสำคัญมากๆที่จะสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
การประเมินผลอาจเเตกต่างไปตามธรรมชาติของศาสตร์สาขาที่เปิดสอน ไม่อาจใช้ชุดหรือวิธีการวัดผลในเเบบเดียวกันได้ เเละที่ไม่ควรมองข้ามคือเทคนิคเเละศิลปะในการวัดประเมินผล ไม่ควรให้นศ.รู้สึกกดดัน หรือวิตกกับวิธีการประเมินว่าตัวเขาเองกำลังถูกประเมินอยู่ครับ
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet