ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต
การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสถาบันไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) สามารถทำได้อย่างไรบ้าง
การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสถาบันไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม หรือ University Engagement สามารถทำได้โดยการกำหนด term project ให้เป็นการทำงานภายใต้การแก้ปัญหา หรือตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน ชุมชน หรือสังคม รวมทั้งใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและเป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ร่วมกันวางแผน ปฏิบัติงานตามแผน และร่วมประเมินผล
เห็นด้วยค่ะ ทั้งนี้ มีความคิดเห็นบางประการที่อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
1. การที่มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาการลงไปทำงานวิจัย/กิจกรรมการรียนการสอนร่วมกับชุมชน/องค์กรภายนอก/สังคม มักจะจบลงที่การนำเสนอแผนหรือนโยบาย แต่มีโอกาสน้อยมากที่แผนและนโยบายนั้นจะถูกผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริง ทำอย่างไรเราจึงจะก้าวผ่านกำแพงของแผนกระดาษไปได้คะ
2. จากประสบการณ์ พบว่าการลงไปทำงานกับชุมชน/สังคมที่น่าจะทำให้เกิดการผลักดันเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมวงกว้างได้ดี คือ การไปทำโครงการเพื่อ empower ชุมชนหรือสังคนนั้น เช่น การเสริมความรู้ การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม การสร้างฐานข้อมูล หรือการสร้างศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะสำคัญ เป็นต้น
ขอแชร์ค่ะ... เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสถาบันไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (จริงๆ) จากประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาชุมชน ...มาพอสมควร คิดว่า สิ่งที่ควรเริ่มเป็นอันดับแรกเลย ก็คือ การเรียนรู้และทำความเข้าใจชุมชนนั้นๆอย่างจริงจัง (เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง) เพราะหากทำงานร่วมกับชุมชนโดย ขาดความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของชุมชนนั้นๆ .....ความสำเร็จ....ก็อาจอยู่ไกลเกินจริง เพราะสิ่งที่เราทำ ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ชุมชน...ต้องการเลยแม้แต่น้อย ....
เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet