KM Rangsit University

ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุมชนนักปฏิบัติ

การสอนนักศึกษา จำนวนต่อห้องเรียนที่เหมาะสมควรมีขนาดเท่าใด

การสอนนักศึกาา จำนวนต่อห้องเรียนที่เหมาะสมควรมีขนาดเท่าใด

ปรีชา ชื่นวิภาสกุล (วิทยาลัยแพทยศาสตร์) เมื่อ 2018-05-17 09:43:34 Like 0

เป็นคำถามที่อยากทราบคำตอบเหมือนกันค่ะเพราะการสอนนักศึกษาคราวละเกิน 60 คน จำนวนนักศึกษาเยอะมาก

วิภาพร ขจรวงศ์วัฒนา (คณะเภสัชศาสตร์) เมื่อ 2018-05-18 14:43:32 Like

น่าจะขึ้นอยู่กับลักษณะของรายวิชาด้วยนะคะ แต่ในเมื่อบางครั้งเราเลือกไม่ได้ ผู้สอนต้องพยายามหาเทคนิควิธีการสอนให้เหมาะสมที่สุด ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะทำได้  อย่างเช่น การเรียนภาษา ในทางอุดมคติ ควรจะมี 15-20 คน แต่ปัจจุบัน 30-40 คน ตอนนี้ใช้เทคโนโลยี แอปพลิเคชั่นต่างๆ เข้าช่วย ค่อนข้างเยอะค่ะ เช่น

ระบบ LMS

Kahoot  จัดกิจกรรมในชั้นเรียน ทบทวน ทดสอบ ประเมินผล ป้อนข้อมูลสะท้อนกลับทันที 

Facebook ก็ช่วยได้ค่ะ ตั้งเป็นกลุ่มปิด ให้ผู้เรียน โพสต์คลิป ส่งงาน แชร์ข้อมูลต่างๆ ผู้เรียนได้แสดงความสามารถ และสามารถคอมเม้นท์ แชร์สิ่งต่างๆ ด้วยกันเอง โดยมีผู้สอนคอยเป็นพี่เลี้ยง

 

อัจฉรา โหตรภวานนท์ (คณะศิลปศาสตร์) เมื่อ 2018-05-31 15:46:18 Like

     ผมมองว่าคงไม่มีสูตรตายตัวสำหรับเคสนี้  อาจารย์บางคนสอนบรรยายล้วนๆอาจสอนนักศึกษาได้ครั้งละ100คนขึ้นไป  บางวิชาลงลึกไปทางทางปฏิบัติ ต้องสาธิตให้เห็นตัวอย่างการทำงานไปด้วย บางคลาสสอนนักศึกษา10คนต่ออาจารย์หนึ่งท่านก็เหนื่อยเเล้ว

    ดังนั้นอัตราส่วนที่ลงตัว ครูอาจารย์ : นักเรียนนักศึกษา ในการสอนเเบบต่างๆคงมีปัจจัยที่ซับซ้อนในเเต่ละสาขาวิชา  อีกทางหนึ่งที่น่าสนใจก็คือนอกเหนือจากสัดส่วนข้างต้นที่เป็นปัจจัยสำคัญเเล้ว สภาพเเวดล้อมของห้องเรียน อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีสนับสนุนการสอนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้อาจารย์สามารถสอนนักศึกษาได้จำนวนมากขึ้นกว่าเดิม โดยที่คุรภาพการสอนไม่ได้ลดลงไป

บัณฑิต เนียมทรัพย์ (คณะศิลปะและการออกแบบ) เมื่อ 2019-05-20 13:46:34 Like

โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าสอนนักศึกษามากเกิน 30 คนต่อห้อง จะได้แค่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียวค่ะ

ยิ่งปริมาณนักเรียนมาก ยิ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน เพราะเวลาไม่พอ มีผลกระทบต่อหลายเรื่อง เช่น

- การให้ความร่วมมือหรือแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน ถ้าเด็กเยอะเกินไป ทุกคนก็ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ได้ สุดท้ายแล้วก็จะมีคนโดดเรียน หรือเข้ามานั่งเล่นโทรศัพท์

- การตรวจการบ้านนักเรียนจำนวนมาก โดยเฉพาะวิชาที่ต้องใช้การทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกฝน และเป็นวิชาที่ไม่มีคำตอบตายตัว ต้องใช้การอธิบาย นักศึกษาจึงจะได้ความรู้ ซึ่งไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเวลาไม่พอ

อาจทำได้โดยการหาผู้ช่วยสอนค่ะ อย่างน้อยให้มาช่วยตรวจการบ้าน ดูว่านักศึกษาคนไหนควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ด้วยความเคารพ

ภาศิณี สกุลสุรรัตน์ (วิทยาลัยดนตรี) เมื่อ 2019-05-28 10:50:44 Like


เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบด้วย username และ password เดียวกับระบบ Intranet