การจัดการเรียนการสอนแบบResearch-Based Learning (RBL)
ผศ.ดร.กฤษดา กรุดทอง
รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
บทสรุป
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันมุ่งการพัฒนาการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญโดยนำเอาการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้หรือจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย โดยมีเชื่อว่าการวิจัยเป็นกระบวนการสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้ บทความนี้จะได้เสนอแนวคิดและวิธีการของการจัดการศึกษาแบบ RBL เพื่อจะได้เกิดแนวคิดและแนวทางการในการนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป
1.บทนำเข้าสู่การจัดการศึกษาแบบ RBL
เอกสารนี้ต้องการเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนแบบ RBL เพื่อให้อาจารย์ของสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้ใช้เป็นแนวให้การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตามแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้แห่งนัยของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 โดยขอเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับ(ก)นิยาม(ข)เหตุผล (ค)ลักษณะ (ง)ทฤษฎี (จ)รูปแบบ(ฉ)วิธีการจัด การศึกษาแบบ RBL ตามลำดับ
2.นิยามของการจัดการศึกษาแบบRBL
การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามรูป
การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบ RBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ ‘การวิจัย’เข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน
3.เหตุผลของการจัดการศึกษาแบบRBL
รศ.ดร.ไพทูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ‘การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐานว่า ’การจัดการเรียนรู้แบบเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ได้ เมื่อก่อนสถาบันอุดมศึกษาผลิตคนแบบ’จำทำ’เพื่อไปทำงานในระบบราชการ แต่ปัจจุบันการอุดมศึกษาต้องผลิตคนแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้สูงไปให้แก่ระบบธุรกิจ การเรียนการสอนแบบ’พูดบอกเล่า’ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใหม่ของอุดมศึกษาได้อีกต่อไป ตามรูป
ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้กล่าวว่าในหนังสือชื่อ ‘การศึกษาที่มีการวิจัยเป็นฐาน’ ว่าการวิจัยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถสร้างคุณลักษณะหลายอย่างที่การศึกษาต้องการได้ การวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนบุคคลให้ตั้งอยู่บนฐาน ข้อมูลและเหตุผล มีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และเกิดนวัตกรรมได้ ขั้นตอนของการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงความรู้ การประเมินความเชื่อได้ของความรู้ การตีค่า ความอิสระทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองย่อมนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ตามรูป
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง การสอนแบบ Research-Based Learning ว่า จุดเริ่มต้นของการสอนแบบ RBL มาจากความสงสัยที่ว่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะใช้วิธีการแสวงหาความรู้เป็นวิธีสอน ถ้าการศึกษาต้องการสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา มีความรู้จักตนเอง ใฝ่รู้อยู่เสมอ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ รอบคอบ ไตร่ตรองเหตุผลรับผิดชอบ เห็นการณ์ไกล มีศีลธรรม เสียสละ ซึ่งสอดคล้องคุณธรรมของนักวิจัยแล้ว ทำไมจึงไม่ใช้การวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอนเสียเลย
4. ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ RBL
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ หลักการที่1.แนวคิดพื้นฐาน
เปลี่ยนแนวคิดจาก’เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’ หลักการที่2.เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก’การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา’ หลักการที่3.วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’ การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’ หลักการที่4.บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ ดังตาราง
5. ทฤษฎีเบื้องหลังการจัดการศึกษาแบบ RBL
การวิจัยเป็นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ใหม่ การใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ก็เพื่อต้องการผลจากการวิจัย 2 ประการ คือ (1)ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ตามแนวคิดของ(ก)การจัดการศึกษาแบบ Constructivism ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองจากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่บุคคลมีอยู่เดิม หรือ(ข)แนวคิดของ Experience Learning ที่ว่า Experience learning takes the student out of the detached role of a vicarious learner and plunges her into the role of participant observer, performer, or even teacher หรือ(ค)แนวคิดของการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ว่า องค์ความรู้หรือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจะมีคุณค่าและถาวรมากกว่าถ้าผู้เรียนเปลี่ยนจากการเรียนแบบรับ(passive learning)มาเป็นแบบรุก(active learning) (2)ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่การศึกษาต้องการประกอบด้วยการเป็นผู้ไฝ่รู้ การเป็นผู้มีวิธีการแสวงหาความรู้ การเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเป็นผู้คิดอย่างอิสระไม่ต้องพึ่งพา การเป็นผู้นำตนเองและผู้อื่น อันเป็นคุณลักษณะที่การศึกษาพึงประสงค์
6. รูปแบบของการจัดการศึกษาแบบ RBL
การจัดการศึกษาแบบ RBL นั้นมีรูปแบบการจัดการศึกษาดังนี้
ก. RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน ประกอบด้วย(1)เรียนรู้ผลการวิจัย/
ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน(2)เรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานการวิจัย
ข.RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย (3)เรียนรู้วิชา
วิจัย/วิธีทำวิจัย(4)เรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย (5)เรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย(6)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก(7)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์ ดังรูป
7.ตัวอย่างวิธีการจัดการศึกษาแบบ RBL
ต่อไปนี้ขอเสนอตัวอย่างการจัดการศึกษาแบบ RBL ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเป็นกรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยDelaware,USA เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ผลปรากฏว่า อาจารย์ร้อยละ 63 เข้าร่วมในโครงการนี้ (จำนวน 604คน จาก 957คน) นักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมในโครงการ โปรแกรมวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90 โปรแกรมสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เข้าร่วมโครงการร้อยละ 81 และโปรแกรมคณิตศาสตร์เข้าร่วมโครงการร้อยละ55(จำนวน 422 คน จาก 504คน) |
ก.วัตถุประสงค์ |